http://gt.in.th/wp-content/uploads/gt00648.jpg
อันที่จริงเป็นเรื่องง่าย หาราเลือกชนิดของตะปูให้ถูกกับงาน เพราะตะปูนั้นมีหลายชนิดและหลายขนาดของวัตถุที่ตอกลงไป เช่นปูน(คอนกรีต)กับไม้นั้น ก็ต้องใช้ตะปูต่างกัน และต้องพิจารณาขนาดของตะปูเป็นส่วนสำคัญด้วย งานบางอย่างใช้ตะปูตัวเล็ก ๆ ก็พอ ตะปูใหญ่เกินไปก็อาจเกิดความเสียหายได้
http://www.scghomesolution.com/content/upload/images/trick2.jpg
เทคนิคที่สำคัญที่ต้องอาศัยทักษะการฝึก คือต้องจัดตะปูให้ตรง ตั้งฉากกับพื้นที่ ที่จะตอกตลอดเวลาที่ตอกลงไป โดยจับค้อนให้มั่นและพยายามตอกลงในทิศทางและระดับตลอดจนน้ำหนักเดียวกันทุก ครั้ง
การตอกตะปูขนาดเล็กมาก : ตะปูที่มีขนาดเล็กทำให้เกิดความลำบากเวลาใช้นิ้วจับตัวตะปูขณะตอก ควรแก้ปัญหาด้วยการใช้กระดาษแข็งเป็นตัวจับตะปูแทน : (Pairat 2013)
http://www.homedd.com/HomeddWeb/homedd/upload_files/pic_diy/pic_procedure/969354271613_5108-4.gif
(ใครที่มีปัญหา เวลาตอกตะปู ตอกเท่าไหร่ ตะปูล้ม พับไปก่อนทุกที ลองใช้หวียึดตะปูไว้ก่อน จะได้ตอกง่ายค่ะ)
http://community.akanek.com/sites/default/files/images/image010.jpg
หรือ
http://uc.exteenblog.com/kina-san/images/easyway/life-hacks-how-to-make-your-life-easier-26.jpg
ประเภทของตะปู
ตะปู เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากโลหะ มีลักษณะแข็ง ปลายแหลม รูปร่างคล้ายเข็ม ตะปูส่วนมากทำมาจากเหล็ก มักใช้สำหรับการยึด ตรึง หรือเพื่อติดวัตถุชนิดต่าง ๆ ในงานไม้ งานก่อสร้าง และงานวิศวกรรม ตะปูมักถูกใช้งานร่วมกับค้อน โดยใช้ค้อนในการตีหรือตอกเพื่อดันตะปูให้ผ่านเข้าไปในวัตถุที่ต้องการ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ (http://th.wikipedia.org/wiki/) เราสามารถแบ่งประเภทของตะปูตามวัสดุที่นำไปตอกได้ 3 ประเภท นั่นคือ (http://www.apnhardware.com/)
1. ตะปูตอกคอนกรีต จะทำจากเหล็กพิเศษ ตะปูประเภทนี้จะมีความแข็ง ไม่งอง่าย ช่วงลำตัวของตะปูคอนกรีตจะเป็นร่องเล็กๆ ซึ่งมีส่วนปลายของตะปูที่ออกแบบมาในลักษณะที่ต่างกันออกไป
2. ตะปูตอกไม้ จะทำด้วยลวดเหล็กชุบสังกะสีกันสนิม จะสามารถแบ่งได้อีกหลายชนิดขึ้นกับการใช้งานค่ะ
3. ตะปูตอกสังกะสี จะทำด้วยเหล็กชุบสังกะสีกันสนิม หัวตะปูจะใหญ่ มีลักษณะกลมมีความโค้งเล็กน้อยเพื่อช่วยในการยึดสังกะสีให้ติดกับโครง ไม่ให้สังกะสีหลุดง่ายเมื่อเจอแรงลม
ชนิดของตะปู
ตะปูมีหลายชนิด หลายขนาด มีทั้งชนิดหัวแบนราบ หัวนูน ตัวอ้วน ผอม ยาว สั้น แล้วแต่ความหนาของไม้และความต้องการที่จะใช้
ส่วนประกอบของตะปู
ตะปูมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนหัวตะปู ส่วนลำตัวและส่วนปลาย
1. ส่วนหัว หัวตะปูจะมีลักษณะต่างกัน มีทั้งหัวราบ แบน และหัวมน
ตะปูหัวราบใช้กันมากในการทำงนทั่วๆไป
ช่างเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปใช้ตะปูหัวแบนมาทุบให้หัวเล็กๆเพราะจะทำให้ไม้มี
ตำหนิน้อยมาก
2. ส่วนลำตัว ตะปูที่ใช้กับงานไม้มีทั้งส่วนลำตัวอ้วนและส่วนลำตัวผอม
ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้เหมาะสมกับความหนาของไม้
ลำตัวของตะปูนั้นผอมยาวเรียกเป็นนิ้ว ซึ่งเป็นชื่อเรียกขนาดของตะปู เช่น
ตะปูขนาด 3 นิ้ว หมายถึง ขนาดของลำตัวตะปูยาว 3 นิ้ว
3. ส่วนปลาย
จะเป็นส่วนที่แหลมคมที่ช่วยทำให้ตะปูเข้าไปยึดฝังอยู่ในเนื้อไม้
ตะปูตอกไม้ที่ผลิตออกจำหน่ายมีตั้งแต่ขนาดความยาว ½ นิ้ว ถึง 4 นิ้ว
ยกเว้นตะปูเข็มซึ่งใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์
ตะปูตอกไม้
ที่มาข้อมูล : http://www.sahaasia.com/Nails.asp
คุณสมบัติ ผลิตและควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานอุตสาหกรรม แข็งแรง ลำตัวไม่โค้งงอ หัวตรงได้ศูนย์กลาง ปลายแหลมไม่มีครีบ
ขนาดตะปูที่ผลิต
5 X 5
4 X 7 3 X 8 3 X 10 2 1/2 X 10 2 1/2 X 12 2 X 11 2 X 13 |
1 1/2 X 13
1 1/2 X 14 1 1/4 X 12 1 1/4 X 16 1 3/4 X 14 1 X 16 1 X 17 3/4 X 16 |
หมายเหตุ จากขนาดในตาราง เช่น 3 X 10
ตัวเลขแถวหน้าแสดงถึงความยาวของตะปู ( หน่วยเป็นนิ้ว ) เช่น 3 นิ้ว
ตัวเลขแถวหลังแสดงถึงเบอร์ลวดที่นำมาผลิต เช่น ลวด # 10
PACKING บรรจุกล่องกระดาษขนาด 14 X 9 X 6 นิ้ว น้ำหนัก 18 กก.ต่อกล่อง
ตะปูในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. ชนิดไม่เคลือบสังกะสี
2. ชนิดเคลือบสังกะสี
รูปร่าง ขนาดและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน
1. รูปร่างของตะปูให้เป็นไปตามรูปด้านล่าง
2. ขนาดและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน และจำนวนตะปูโดยประมาณใน 1 กิโลกรัม ให้เป็นไปตามตาราง
http://www.sahaasia.com/Images/TapuStructure.gif
L
D d s |
คือ
คือ คือ คือ คือ |
ความยาวของตะปู เส้นผ่านศูนย์กลางของหัวตะปู (D > 1.8d) เส้นผ่านศูนย์กลางของลำตัวตะปู ความยาวของปลายเสี้ยม (d s 1.5d) มุมผายของหัวตะปูวัดจากผิวตอนล่างของหัวตะปู ( = 120 5 องศา ) |
ขนาด
|
ความยาวตะปู (มม.)
|
ลำตัวตะปู (มม.)
|
วัตถุดิบที่ใช้
|
3 X 8
3 X 10 2 1/2 X 10 2 1/2 X 12 2 X 13 |
75
75 65 65 50 |
4.25
3.55 3.55 2.8 2.5 |
SWRM 17
SWRM 17 SWRM 17 SWRM 12 SWRM 12 |
ตะปูที่ใช้ในงานไม้ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีหลายชนิดหลายขนาด ได้แก่
1. ตะปูธรรมดา จะมีขนาดความโตของหัวตะปูเป็นสองเท่าของความโตที่ตัวตะปู หัวตะปูจะมีลักษณะแบนเรียบมีขนาดตั้งแต่ 2d ไปจนถึง 60d เป็นตะปูที่ใช้กับงานทั่วๆไป
2. ตะปูแบนหรือตะปูตอกกล่อง มีลักษณะหัวกลมแต่แบน หัวตะปูจะมีลักษณะเช่นเดียวกับหัวตะปูธรรมดา แต่ตัวตะปูจะมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย มีขนาดตั้งแต่ 2d ไปจนถึง 20d ใช้สำหรับตอกกล่องหรือลังไม้ หรือใช้ในงานเครื่องเรือนทั่วๆไป
3. ตะปูหัวกลม จะมีขนาดเล็กกว่าตะปูแบนมาก หัวตะปูจะกลม มีขนาดตั้งแต่ 2d ไปจนถึง 20d ใช้ในงานที่ต้องการส่งหัวตะปูไม่ให้เห็นหลังจากตอกแล้ว หรืใช้ในงานภายในที่ต้องการความละเอียดและประณีต เนื่องจากฝังหัวตะปูได้ งานที่ใช้ตอกยึดเครื่องเรือนต่างๆเป็นต้น
4. ตะปูตอกพื้น ตะปูชนิดนี้ทั้งหัวและตัวตะปูจะมีขนาดเท่ากับตะปูชนิดธรรมดา แต่หัวตะปูจะเป็นรูปทรงกรวย มีขนาดตั้งแต่ 7d ไปจนถึง 10d ใช้สำหรับตอกพื้นอาคารบ้านเรือนและอื่นๆตะปูเมื่อตอกเข้าไปในพื้นเรียบร้อย แล้ว หัวตะปูจะเสมอเรียบกับพื้นพอดี
การนำตะปูไปใช้งานและการบำรุงรักษา
1. เลือกตะปูให้เหมาะสมกับความหนาองไม้
2. การตอกควรใช้จังหวะในการตอกอย่างสม่ำเสมออย่าโหมแรงจนเกินไปตะปูจะหดได้ หรือถ้าตอกให้หนักจนเกินไปจะทำให้ตะปูร้อนและเกิดการบิดงอได้
3. เวลาตอกไม้ให้ตะปูยึดกันให้ได้ โดยตอกให้เอียงตามรูปที่ 3.8
4. อย่าเก็บตะปูไว้ในที่ชื้น
ภาพแสดง ตะปูคอนกรีต (ขาว)
http://www.sabuyjaishop.com/shop/tnsteel/images/dfytq155ffscey45wnim17825521536.jpg
ภาพแสดง ตะปูคอนกรีต (ดำ)
http://www.sabuyjaishop.com/shop/tnsteel/images/dfytq155ffscey45wnim17825521857.jpg
ภาพแสดง ตะปูตอกงานเฟอร์นิเจอร์
http://img.alibaba.com/photo/279576971/long_point_polish_steel_Concrete_nails_with_smooth_shank.jpg
http://img.alibaba.com/photo/479818193/Panel_Pins_Veneer_Pins_Copper_Nails.jpg
ตะปูตอกสังกะสี : http://kunakorntat.makewebeasy.com/image/mypic_customize/umbrella%20nail.jpg
การตอกตะปู มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้
2.1 พิจารณาวัตถุที่จะทำการตรึงหรือตอกว่า เป็นวัสดุอะไร เช่น ไม้และคอนกรีต
2.2 เลือกตะปูให้เหมาะสมกับงาน เช่น ยาวเพียงพอกับความหนาของไม้ ขนาดไม่ใหญ่เกินไป เพราะอาจทำให้ไม้แตก
2.3 ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็งรัง ไม้แดง ไม้ประดู่ ควรเจาะนำร่องเล็กน้อยเสียก่อน
2.3 ก่อนใช้ค้อนต้องตรวจดูว่าหัวค้อนกับด้ามจับสวมกันแน่นหรือไม่ โดยการใช้มือข้างหนึ่งจับหัวค้อนและอีกข้างหนึ่งจับด้ามค้อนบิดทดสอบดู
2.4 ใช้มือที่ถนัดจับด้ามค้อน นิ้วก้อยอยู่ห่างจากปลายด้ามประมาณ 25 เซนติเมตร
2.5 ตาจับอยู่ชิ้นงาน
2.6 การตอกตะปูเริ่มแรก หัวค้อนควรวางไว้ที่หัวตะปู และให้ด้ามค้อนทำมุม 90 องศากับตะปู
2.7 ควรตอกตะปูเบา ๆ กับชิ้นงานก่อน เพื่อเป็นการตอกนำ เพื่อยึดตะปูให้แน่น ก่อนที่จะลงมือตอกอย่างแรง
2.8 การตอกตะปูกับชิ้นงานที่แข็ง ๆ ต้องระมัดระวังตะปูกระเด็น
2.9 อย่าตอกแรงจะทำให้ตะปูร้อน และเกิดบิดงอได้ ควรตอกให้มีจังหวะสม่ำเสมอ จนหัวตะปูแนบชิดกับผิวไม้
2.10 ยกค้อนสูงประมาณระดับหัวไหล่ ด้ามค้อนอยู่ในแนวดิ่ง
2.11ตอกลงให้หน้าค้อนสัมผัสกับชิ้นงานให้ได้มุมฉาก
2.12 ในการตอกตะปูต้องให้น้ำหนักของค้อนเฉลี่ยลงบนหัวตะปูเท่า ๆ กัน มิฉะนั้นตะปูจะเบนหรืองอได้
2.13 ขณะตอกสายตาต้องจับอยู่ที่ตำแหน่งตอก
2.14 เมื่อตอกตะปูเข้ากับชิ้นงานแล้ว จะมีหัวตะปูโผล่ขึ้นมา ควรหาเหล็กตอกส่งให้หัวตะปูมิดหายลงไปใต้เนื้อไม้
ปัจจุบันช่างเฟอร์นิเจอร์ใช้ตะปูน้อยลง เพราะมีเครื่องยิงตะปุลมและไฟฟ้า ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วและมองไม่เห็นหัวตะปู
การถอนหัวตะปู
ที่มาข้อมูล : http://www.sinudom.com/do_it_01.html
ขั้นตอนที่ 1 : การถอนตะปูธรรมดา ที่ตัวไม่ยาวหรือไม่ใหญ่มาก สามารถใช้การถอนด้วยค้อนหงอนธรรมดา โดยดันหัวค้อนหงอนเข้าที่ตะปูแล้วงัดขึ้นโดยให้หัวค้อน เป็นจุดหมุนงัดขึ้นมา
ขั้นตอนที่ 2 : ถ้าตะปูที่ตอกไว้นั้นยาก หรือว่าเราต้องการป้องกันผิวเนื้อไม้ ที่จะเสียหายจากการที่หัวค้อนกดทับ นั้นเราควรนำไม้มารองที่หัวค้อนแล้วจึงงัดตะปูออกตามมาตามขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 3 : สำหรับตะปูที่ยาวมากๆนั้น เมื่อถอนตะปูออกมาพอประมาณแล้ว ให้ใช้ค้อนนั้นถอนตะปูโดยเอียงค้อนถอนตะปูทางด้านข้าง
ขั้นตอนที่ 4 : ถ้าต้องการถอนตะปูที่ละมากๆ และไม่กลัวความเสียหาย เป็นการถอนตะปู ไม้ลัง สามารถใช้ชะแลงงัดถอนตะปูได้
ขอบคุณทุกแหล่งที่มา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น