อุปกรณ์ที่ช่างไฟนิยมใช้ หรือที่ช่างไฟจำเป็นต้องมีไว้ในบ้าน ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อติตั้งระบบไฟฟ้าในบ้านและแก้ไขไฟฟ้าที่บ้านของเราดับ ชำรุด เราก็หาอุปกรณ์เหล่านี้มาซ่อมเองได้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงการใช้งานด้วยว่า อุปกรณ์ชนิดไหนใช้ทำอะไร เก็บรักษาอย่างไร และมีวิธีใช้อย่างไรบ้าง เพื่อความปลอดภัย กับตัวเราเอง และคนรอบข้างของครอบครัวของเรา อุปกรณ์ใช้ในงานระบบไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย มีดังต่อไปนี้
1. สายไฟฟ้า
http://supply.pitipoom.com/images/Cable.jpg
การเลือกใช้สายไฟฟ้า
1.1 ใช้เฉพาะสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มีเครื่องหมาย มอก.11) เท่านั้น
1.2 สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบชำรุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะมีการเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือ ฉนวนของสาย สารป้องกันแสงแดดส่วนใหญ่ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีดำ แต่อาจจะเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวนของสายจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง
1.3 เลือกใช้ชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่น สายไฟชนิดอ่อนห้ามนำไปใช้เดินยึดติดกับผนังหรือลากผ่านบริเวณที่มีการกดทับ สาย เช่น ลอดผ่านบานพับประตูหน้าต่าง หรือตู้ เนื่องจากฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกดกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายหรือบานพับ ได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายใต้ดิน (เช่น สายชนิด NYY) พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย เป็นต้น
1.4 ขนาดของสายไฟฟ้า ต้องใช้สายตัวนำทองแดงและเลือกให้เหมาะสมกับขนาดแรงดันไฟฟ้า(1 เฟส หรือ 3 เฟส) ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และ ขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดของเมนสวิตช์
http://www.thaitechno.net/uploadedimages/knowledge/images/km37865_20101027132018_560492627_fullsize.jpg
1.5 ขนาดของสายต่อหลักดิน ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่กำหนดไว้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 2 ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน
หมายเหตุ การเลือกขนาดสายต่อหลักดิน โดยพิจารณาจากขนาดตัวนำประธาน (สายเมน) ของระบบไฟฟ้า
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kanichikoong&month=05-2013&date=28&group=17&gblog=111.6 มาตรฐานสีของฉนวนไฟฟ้า
http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2010/07/R9512420/R9512420-10.jpg
2 มิเตอร์ไฟฟ้า เป็นเครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ในเดือนหนึ่ง ๆ โดยมีมอเตอร์ที่มาตรไฟฟ้าคอยหมุนตัวเลขบอกค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปเป็นกี่ กิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือยูนิต หรือหน่วย
http://img.tarad.com/shop/c/chaidecho/img-lib/spd_20090530154953_b.jpg
3. เมนสวิตช์ เป็นอุปกรณ์ตัวหลักที่ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้าของสายเมนเข้าอาคารกับสายภายในทั้ง หมด จึงเป็นอุปกรณ์สับ-เปลี่ยนวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากมิเตอร์วัดหน่วยไฟฟ้าเข้ามา ในบ้าน เมนสวิตช์อาจเป็นอุปกรณ์ตัดไฟหลักตัวเดียว หรือจะอยู่รวมกับอุปกรณ์อื่นๆในตู้แผงสวิตช์
http://www.sense.co.th/private_folder/Consumer_Unit_2.jpg
4. สวิตช์ตัดไฟอัตโนมัติ (เซอร์กิตเบรคเกอร์) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าได้ในขณะใช้งานปกติ และยังสามารถตัดกระแสไฟฟ้าเกินหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรโดยอัตโนมัติได้ด้วย ทั้งนี้การเลือกใช้เบรกเกอร์จะต้องเลือกขนาดพิกัดในการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของเบรกเกอร์ให้สูงกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่เกิดขึ้นในวงจรนั้นๆ
http://www.piyanas.com/webboard/file-lib/webboard/20090814212037.jpg
5. ฟิวส์ (Fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่งทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด ซึ่งเมื่อฟิวส์ทำงานแล้วจะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ฟิวส์ที่ใช้เปลี่ยนต้องมีขนาดกระแสไม่เกินขนาดฟิวส์เดิม และต้องมีขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) สูงกว่าขนาดกระแสลัดวงจรสูงสุดที่ไหลผ่านฟิวส์
http://www.eofficethailand.com/img/p/1629-1669-large.jpg
http://img.tarad.com/shop/t/telepart/img-lib/spd_20100913172912_b.jpg
6. เครื่องตัดไฟรั่วหรือเครื่องตัดวงจร เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเป็นสวิตช์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรเมื่อมี กระแสไฟฟ้ารั่วได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เครื่องตัดไฟรั่วมัก จะเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อใช้ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด โดยเฉพาะจะใช้ได้ดีเมื่อใช้กับระบบไฟฟ้าที่มีสายดินอยู่แล้วและจะช่วย ป้องกันอัคคีภัยจากไฟฟ้ารั่วได้อีกด้วย เครื่องตัดไฟรั่วนี้จะต้องมีปุ่มสำหรับกดเพื่อทดสอบการทำงานอยู่เสมอ
http://www.taejai.com/sites/default/files/users/user-71/original/uu_0.png
7. หลักดิน (Ground Rod หรือ Grounding Electrode หรือ Earth Electrode) เป็นแท่งหรือแผ่นโลหะที่ฝังอยู่ในดิน เพื่อทำหน้าที่แพร่หรือกระจายประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดินได้โดย สะดวก วัตถุที่จะนำมาใช้เป็นหลักดิน เช่น แท่งทองแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/8 นิ้ว) ความยาวมาตรฐานต้องยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นต้น
http://www.cableaccs.com/earthing.jpg
8. ตุ้มหรือลูกถ้วย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รองรับสายไฟ ทำหน้าที่เป็นฉนวนและป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้ารั่วลงดินหรือลัดวงจรลงดิน
http://www.thaitechno.net/uploadedimages/c1/Product_39809_2020963_fullsize.jpg
9. หลอดไฟฟ้า (Lamp) ทำหน้าที่ให้แสงสว่างสำหรับสถานที่ปฏิบัติงาน หรือที่อยู่อาศัย การติดตั้งระบบส่องสว่างควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการจัดแสง และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งนั้นก็คือการเลือกประเภทและชนิดของหลอดไฟฟ้า โดยปกติทั่วหลอดไฟฟ้าไปแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
9.1 หลอดไฟฟ้าชนิดมีไส้ (Filament Lamp) เป็นหลอดไฟฟ้าที่นิยมใช้ในรุ่นแรก ๆ หรือบางที่ก็เรียกว่าหลอดธรรมดา องค์ประกอบของหลอดประกอบด้วย หลอดแก้ว, ไส้หลอด, (ส่วนไส้หลอดทำจากทังสเตน) เส้นลวดที่ต่อเข้ากับขั้วหลอด, ลวดยึดไส้หลอด,และก้านหลอดยึดไส้, ปัจจุบันนิยมใช้ไม่มากนักเพราะให้กำลังส่องสว่างน้อยกว่าหลอดประเภทอื่น
ในกรณีกำลังวัตต์เท่ากัน มีจำหน่วยในท้องตลาดมีหลายขนาด เช่น 40วัตต์ 60วัตต์ 80วัตต์ 100วัตต์ ฯลฯ อายุการใช้งานประมาณ 1000 ชั่วโมง หลอดประเภทนี้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือชนิด แบบเขี้ยว และชนิดแบบเกลียว
9.2 หลอดไฟฟ้าชนิดเรืองแสง (Fluorescent Lamp) หรือเรียกว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์หลอดไฟฟ้าประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดา ถึง 4 เท่า ให้แสงสว่างที่เย็นตามากกว่า รวมทั้งอุณหภูมิความร้อนที่เกิดขึ้นจากหลอดน้อยกว่า ส่วนประกอบที่สำคัญของหลอดประกอบด้วย
1) ตัวหลอด
2) ขั้วหลอด
3) ไส้หลอด
4) สารบรรจุภายในหลอด เช่น อาร์กอน และไอปรอท
หลอดไฟฟ้าชนิดฟลูออเรสเซนต์ที่จำหน่วยในท้องตลาด มีหลายลักษณะเช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ธรรมดา หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบวงกลม (32 วัตต์) แบบยาวตรง (18,36 วัตต์) และหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบคอมแพค (Compact) หรือหลอดตะเกียบ
9.3 หลอดไฟฟ้าชนิดอาศัยการอาร์ค หรือหลอดไฟชนิดคายประจุ หลอดประเภทนี้ใช้กระแสไฟฟ้ามากในการทำงานไม่นิยมใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้เฉพาะจุดหรือพื้นที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ หลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีหลายแบบ เช่น หลอดไอปรอท หลอดฮาโลเจน หลอดโซเดียม หรือหลอดแสงจันทร์
http://i00.i.aliimg.com/img/pb/751/616/640/640616751_747.jpg
แสงสีของหลอด สีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของมนุษย์ แสงที่ส่องกระทบวัตถุสามารถทำให้สีของวัตถุเปลี่ยนได้ ถ้าเลือกสีได้ถูกต้องจะทำให้มองสีของวัตถุไม่ผิดเพี้ยน และยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการทำงานได้ด้วย หลอดฟลูออเรสเซนต์จึงมีแสงสีต่าง ๆ หลายสีเพื่อให้เลือกใช้ตรงกับต้องการของงาน
แสงที่เรียกว่า เดย์ไลท์(DAY LIGHT) เป็นแสงที่มีสีใกล้เคียงกับสีของแสงแดด ทำให้การมองเห็นวัตถุที่ส่องด้วยแสงเดย์ไลท์เหมือนกับที่มองตอนกลางวัน ในบางประเทศที่ไม่ค่อยมีแสงแดดจะนิยมใช้หลอดชนิดนี้เพื่อให้ความรู้สึกว่ามี แสงแดด
หลอดวอร์มไวท์ (WARM WHITE) สี ของแสงจะออกไปทางแดงปนเหลืองให้ความรู้สึกอบอุ่น ในประเทศหนาวนิยมใช้สีนี้ในบางสถานที่ เช่น ห้องนั่งเล่น เพื่อให้ความรู้สึกอบอุ่น ช่วยให้ลดความรู้สึกหนาวได้บ้าง วัตถุที่ส่องด้วยแสงสีนี้จะมีสีเพี้ยนไปบ้าง
หลอดคูลไวท์ (COOL WHITE) สีของแสงอยู่ระหว่างหลอดเดย์ไลท์กับหลอดวอร์มไวท์ ให้สีที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ นิยมใช้งานทั่วไป เหมาะที่จะใช้ในสถานที่ทำงานต่าง ๆ และในห้างสรรพสินค้า
หลอดแบล๊คไลท์ (BLACK LIGHT) เป็น หลอดที่มีหลอดเป็นแก้วสีดำ ให้แสงที่ตามองไม่เห็น แต่เมื่อไปกระทบกับวัตถุสีขาวจะสะท้อนแสงนวลสวยงามนิยมใช้ตามร้านอาหาร ภัตตาคาร และสถานที่ที่มีการแสดงในเวลากลางคืนหลอดชนิดนี้จะแผ่รังสีไวโอเลตในปริมาณ สูงซึ่งเป็นอันตรายต่อสายตาและผิวหนัง จึงไม่ควรใช้เป็นเวลานาน ๆ
10. สตาร์ทเตอร์ ทำหน้าที่คล้ายเป็นสวิทช์ อัตโนมัติ เพื่อเปิดและปิดวงจรของหลอด ฟลูออเรสเซนต์ เมื่อเริ่มต้นทำงานสตาร์ทเตอร์ทำหน้าที่เปิดวงจรเพื่ออุ่นไส้หลอดให้พร้อม ที่จะทำงาน เมื่อไส้หลอดทำงานเรียบร้อยแล้วสตาร์ทเตอร์ก็ปิดวงจร
11. บัลลาส ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะ สมกับหลอดซึ่งแรงดันไฟฟ้าในตอนเริ่มต้นจะสูงมาก เพื่อจุดไส้หลอดให้ปลดปล่อยอิเลคตรอนออกมา หลังจากหลอดทำงานแล้ว บัลลาสจะเปลี่ยนหน้าที่โดยจะเป็นตัวจำกัดปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าหลอด
12. เต้ารับ (Socket-outlet หรือ Receptacle) หรือปลั๊กตัวเมียคือขั้วรับสำหรับหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคาร เป็นต้น
13. เต้าเสียบ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยนำปลายของสายไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่กับเต้าเสียบ
ไปเสียบกับเต้ารับ ที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้าใดๆ ก็ได้ภายในบ้าน
14. สวิตช์เปิด-ปิดธรรมดา (Toggle Switch) สวิตช์เปิด-ปิดในที่นี้ หมายถึงสวิตช์สำหรับเปิด-ปิดหลอดไฟหรือโคมไฟสำหรับแสงสว่างหรือเครื่องใช้ ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่มีการติดตั้งสวิตช์เอง
อุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานเดินสายไฟฟ้า
1. เข็มขัดรัดสาย หรือที่เรียกทั่วไปว่า คลิป (clip) หรือ กิ๊ป ผลิตจากอะลูมิเนียมขึ้นรูปเป็นแผงบางๆแต่มีความเหนียว มีหลายขนาด เช่น เบอร์ ¾, 0, 1, 1 ½, 2, 2 ½, 3, 4, 5 และเบอร์ 6 ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด ตั่งแต่ เบอร์ 3 ถึง เบอร์ 6 จะมีขนาดสองรู ขนาดอื่นๆ จะมีรูเดียว
2. ตะปู ขนาด 3/8 นิ้ว, 5/16 นิ้ว ใช้ตอกบนอาคารฉาบปูน และขนาด ½ นิ้ว สำหรับตอกบนอาคารที่เป็นไม้
3. พุก (fixer) ใช้งานคู่กับสกรูเพื่อให้การจับยึดอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ มีความแข็งแรง พุก ที่ใช้งานทั่ว มี 3 แบบ คือ
3.1 พุกพลาสติก ใช้กับงานติดตั้งขนาดเล็ก เช่น ติดตั้งแป้นไม้ แผงคัทเอ้าท์ จะใช้พุกขนาด M7 (เอ็ม-เจ็ด) กล่าวคือ ต้องใช้อดอกสว่านขนาด 7 มิล และใช้สกรูขนาด 5-6 มม. นอกจากนี้ยังมีขนาดอื่นๆ เช่น M8 จะโตกว่า M7
3.2 พุกตะกั่ว ใช้กับงานขนาดกลาง เนื่องจากทนแรงกดและน้ำหนักได้ดีกว่า เช่นการติดตั้งตู้โหลดเซนเตอร์
3.3 พุกเหล็ก หรือที่เรียกว่า โบลว์ (bolt) ใ ช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงทุกประเภทเนื่องจากรับน้ำหนักได้ดี แต่มีราคาแพง
4. สกรู เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตะปูเกลียวปล่อย มีสองชนิดคือ ชนิดหัวแฉกและชนิดหัวแบน
5. แป้นไม้ ใช้สำหรับรองรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาด อาทิ เช่น 4 × 6 นิ้ว 8 × 10 นิ้ว เป็นต้น ปัจจุบันมีการผลิตแป้นพลาสติกออกมาใช้งานควบคู่กับแป้นไม้ ได้รับความนิยมใกล้เคียงกัน
6. เทปพันสายไฟ เป็นเทปพลาสติคหรือผู้ทำ หน้าที่เป็นฉนวนใช้พันสายไฟบริเวณจุดต่อของสายเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเทปที่ดีควรเป็นฉนวนที่ดี อ่อน เหนียว และกาวของเทปมีความเหนียวคงทน เมื่อพันสายไฟแล้วแนบกับสายได้ดี
7.เคเบิ้ลไทร์(Cable Ties) เข็มขัดรัดสายไฟ, สายรัดไนล่อนเอนกประสงค์ สายรัดในล่อน เอนกประสงค์
8. ตลับแยกสาย มีลักษณะกลมมีฝาเกลียวปิด หรือเป็นกล่องพลาสติคสี่เหลี่ยมจัตุรัส สามารถเจาะรูออกรอบ ๆ ได้ 4 รู ตลับแยกสายมีไว้สำหรับต่อสายภายในตลับ เพื่อให้ดูเรียบร้อยสวยงาม ในการต่อแยกสายไปใช้หลายจุด เช่น ปลั๊ก สวิทช์ ดวงโคม ฯลฯ แต่ในปัจจุบันตลับแยกสายไม่เป็นที่นิยมในการต่อจุดแยก ส่วนใหญ่จะนิยมเชื่อมต่อวงจรภายในแผงสวิทช์หรือปลั๊กแทน
9. แป้นไม้, แป้นพลาสติค ทำด้วยไม้หรือพลา สติค ทรงสี่เหลี่ยมมีหลายขนาด เช่น 8 นิ้ว x 10นิ้ว , 10นิ้ว x 12นิ้ว , 6 นิ้ว x 8 นิ้ว , ฯลฯ ใช้สำหรับติดตั้งหรือรองอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สวิทช์ ปลั๊ก เบรกเกอร์ คัทเอาท์ ฯลฯ ในบางกรณีแป้นไม้ หรือ พลาสติคสามารถใช้แทนตลับ
แยกสาย
10. บ๊อกสวิทช์,ปลั๊ก สำหรับติดตั้งหน้ากาก สวิทช์และปลั๊ก แยกได้เป็น 2 ลักษณะคือ บ๊อกใช้สำหรับฝังในผนังปูน อาจทำด้วยเหล็กหรือพลาสติค และอีกประเภทหนึ่งคือ บ๊อกติดภายนอกผนังปูน (บ๊อกลอย) ส่วนใหญ่ทำด้วยพลาสติค
11. หน้ากาก สวิทช์-ปลั๊ก สำหรับติดตั้งสวิทช์และปลั๊ก ปัจจุบันเป็นที่นิยมเพราะติดตั้งได้ง่าย เรียบร้อยกว่าสวิทช์-ปลั๊ก รุ่นแรก ๆ แยกได้ 3 ลักษณะ คือ หน้ากาก 1 ช่อง, หน้ากาก 2 ช่องและหน้ากาก 3 ช่อง ใน 1 ช่องนั้น สามารถติดปลั๊กหรือสวิทช์ได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น
12. ท่อสำหรับเดินสายไฟ เป็นท่อ P.V.C สำหรับใส่สายไฟเข้าไปภายใน ปัจจุบันนิยมใช้ท่อเดินสายไฟภายในอาคารเพราะสะดวกในการติดตั้ง และสามารถซ่อมแซมระบบสายไฟได้ง่าย มีหลายขนาด ที่นิยมใช้ คือขนาด 20 มิลลิเมตร 25 มิลลิเมตร และ 30 มิลลิเมตร ลักษณะของท่อ P.V.C ที่ใช้สำหรับงานไฟฟ้ามี 2 สี คือ ท่อสีขาว สำหรับเดินสายไฟภายในอาคารทั่วไป ท่อสีเหลือง เหมาะสำหรับเดินสายไฟฟ้าฝังดินหรือเดินสายไฟภายในโรงงาน
13. อุปกรณ์สำหรับท่อเดินสายไฟ อุปกรณ์ที่ กล่าวถึงในที่นี้เป็นอุปกรณ์ทั่วไป สำหรับการติดตั้งระบบการเดินสายไฟฟ้าแบบปิด (ร้อยท่อ) ทำหน้าที่ในการยึด-ต่อ อุปกรณ์และท่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้แข็งแรงและสวยงาม เช่น
13.1 ข้อต่อตรง สำหรับต่อท่อเข้าด้วยกัน
13.2 คอนเนกเตอร์ สำหรับต่ออุปกรณ์และท่อเข้าด้วยกัน
13.3 ข้อต่ออ่อน สำหรับต่อท่อที่เยื้องหรืออยู่คนละแนวกัน
13.4 ข้องอ สำหรับต่อท่อที่หักเลี้ยวเป็นมุมฉาก
13.5 สามทาง สำหรับต่อแยกท่อได้ 3 ทาง
13.6 เข็มขัดรัดท่อ สำหรับยึดท่อ
สรุป
ระบบไฟฟ้าเป็นระบบที่มีความสำคัญในบ้านทุกบ้าน การเลือกใช้ระบบไฟฟ้า การเดินสายไฟ ชนิดของสายไฟ และอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน เป็นเรื่องที่ผู้ใช้ต้องมีความรู้พื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การพิจารณาเลือกใช้ให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นการช่วย ประหยัดพลังงานและยังมีผลดีต่อส่วนรวมของประเทศในแง่ของการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในด้านการลดภาวะโลกร้อนได้
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เรื่อง คำแนะนำด้านความปลอดภัย อุปกรณ์ไฟฟ้า
http://www.cr-engineer.com/images/pulldown_1304840984/Book%2019_42.pdf
และ https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_power/wiki/7a096/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น