สีเป็นวัสดุสิ้นเปลือง มีคุณสมบัติแตกต่างกันตามชนิด และลักษณะของการใช้งาน ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก ส่วนมากแล้ว เรามักจะเข้าใจกันโดยผิวเผินว่าสีเป็นที่นิยมใช้หรือเหมาะสำหรับการตกแต่ง เช่น การใช้สีกับเสื้อผ้า หรือการใช้สีทำการทาตกแต่งบ้าน แต่จริง ๆ แล้วเราได้มีการนำสีมาใช้ในแง่มุมต่าง ๆ  อีกมากมาย อาทิเช่น นำมาใช้ในลักษณะของการป้องกัน เช่น ใช้ทาเพื่อป้องกันการกัดกินจากแมลงหรือมด ใช้ทาป้องกันเพื่อให้ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ป้องกันการเกิดสนิม เป็นต้น และมีการนำสีมาใช้เป็นสัญญาลักษณ์ต่าง ๆ  เช่น สัญญาณไฟจราจร ใช้สีเพื่อแสดงความปลอดภัย และอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ
            สีทำให้เกิดความอบอุ่น การเร่งเร้า และระมัดระวัง เมื่อทาหรือแสดงไว้ ณ จุดใด จะเป็นที่รับรู้ และเข้าใจกันโดยทั่วไป จึงนับได้ว่าเป็นภาษาสากลอีกชนิดหนึ่ง จึงทำให้เกิดการเร้าจิตใจมนุษย์ ยิ่งนักเมื่อได้มองเห็น สีมีส่วนประกอบของสิ่งต่อไปนี้
      1.  สารยึดเกาะ  เป็นของเหลวทำหน้าที่เคลือบติด พื้นผิวงาน ยึดเนื้อสี และสารเพิ่มคุณภาพต่าง ๆ จุดประสงค์ของ สารยึดเกาะคือ การทำให้สารเพิ่มคุณภาพยึดติดแน่นและเคลือบพื้นผิวงานได้ดี สารยึดเกาะมีมากมายหลายชนิดได้แก่ น้ำมันจากธรรมชาติ เซลลูโลส และฟลูออโรคาร์บอนเรซิน
      2.  เนื้อสี เนื้อสีมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมสีต่าง ๆ ให้ได้ตามที่ต้องการ ทำให้สีมีความเงางาม ป้องกันสนิมและทำให้ เกิดความราบเรียบของชิ้นงาน ตัวยับยั้งการเกิดสนิมที่ใส่ไปในสีได้แก่ ตะกั่วแดง ตะกั่วน้ำเงิน สังกะสีโครเมต สีต่าง ๆ อาจได้มาจากทางสารเคมีธรรมชาติหรือสารประกอบโลหะ เนื้อสีจำนวนมากจะอยู่ในสารยึดเกาะเป็นของแข็งและ ไม่ละลาย ในสารละลาย แต่จะเสื่อมคุณภาพเมื่อปล่อยทิ้งไว้ในบรรยากาศการเกิดฟิล์มสี สีเกิดจากการผสมของเนื้อสี และน้ำยาผสม น้ำมันวานิช (vanish) จะไม่มีเนื้อสี อีนาเมล (enamel) คือส่วนผสมของเนื้อสีและวานิชแลกเกอร์ คือวัสดุที่ทำให้สีแห้งเร็ว ซึ่งเป็นวัสดุที่ระเหยง่ายและระเหยอย่างรวดเร็ว และจะเหลือสิ่งที่ไม่ระเหยตกค้างอยู่ได้แก่ เนื้อสี แลกเกอร์ทำจากเรซินเซลลูโลสที่ละลายได้ในสารละลาย เนื้อสีจะถูกเติมลงไปเพื่อให้เกิดสีต่าง ๆ
3.  สารทำละลาย เป็นสารที่ใช้ทำให้สารยึดเกาะเกิดการ ละลายเจือจาง โดยเมื่อเดิมสารทำละลายลงไปจะทำให้ความ หนืดของสารยึดเกาะลดลง และจะเพิ่มปริมาณของสี แต่จะไม่ลดประสิทธิภาพของสารทำละลาย
4.  สารเพิ่มคุณภาพ เป็นวัสดุที่เดิมลงไปในสีในปริมาณเล็กน้อย ทำให้สีมีคุณภาพทางเคมีที่ดีในการทำให้สีเกิดการ เคลือบติดวัสดุชิ้นได้ดี เช่น มีความเสถียร ไม่เกิดฟองไหลได้ดี มีความเสถียรแม้อากาศเย็น ทำให้รวมตัวกันได้ดียึดเกาะ ผิวงานได้ดีสีมีหลายชนิดได้แก่
      4.1  สีน้ำ (water paints) เป็นสีที่ใช้น้ำเป็นตัวทำให้สีเจือจางสีน้ำปกติไม่มีกลิ่นแห้งเร็วเหมาะ สำหรับงานทาสี บ้านเรือน และอาคาร สารยึดเกาะปกติเป็นน้ำมัน และส่วนประกอบของเรซินในบางกรณีสีน้ำเหล่านี้จะเป็นก้อนแข็ง เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็น และเมื่อสีถูกเก็บไว้นาน ๆ และได้รับความร้อนมาก ๆ สีน้ำก็จะเสื่อมคุณภาพสีน้ำบาง ชนิดจึงมีส่วนประกอบของยางจากต้นยางเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
      4.2  สีวานิช (varnish paints) เป็น ส่วนผสมของยางธรรมชาติหรือยางสังเคราห์และน้ำมันซักแห้ง เช่น น้ำมันปลา น้ำมันละหุ่ง น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันถั่วเหลือง หรือน้ำมันข้าวโพด ยางสน ธรรมชาติเป็นกาวหรือน้ำมัน เช่น ยางสนแข็ง ยางสนสังเคราะห์ เช่น อัลคิด อีพอกซี เมลามีน ฟีนอล ซิลิโคน และยูเรีย ทั้งหมดถูกใช้งานในสี
          - วานิชอัลคิด จะแข็งเมื่อได้รับความร้อนเมื่อใช้กับฐานน้ำมัน จะทำให้เกิดความเงางามสูง ต้านทานสารเคมี ความร้อนและความชื้น มีความยืดหยุ่น และมีคุณสมบัติติดแน่น
          - วานิชฟีนอล มีคุณสมบัติเด่นในการยึดเกาะเมื่อถูกอบด้วยความร้อน มีคุณสมบัติเป็นฉนวนได้ดี และต้านทานน้ำทะเล ปกติต้านทานสารเคมีได้ไม่ดีเท่ากับอัลคิด
      4.3  สีบิทูมินัส (bituminous paints) หรือสีวานิชที่มีถ่านน้ำมันดิน (coal tar) ละลายในน้ำแร่ ใช้เป็นสีกันน้ำมีความซาบซึม ของน้ำได้ต่ำมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีความต้านทานน้ำได้ต่ำมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีความต้านน้ำได้ดี ดังนั้นจึงใช้เป็นสีกันน้ำ มีความ ไว ต่อแสงแดด และจะหดจนย่นหรือบิดเบี้ยวโก่งงอและแตกเมื่อสัมผัสกับแสงแดด แม้ในระยะเวลาอันสั้น
      4.4  สีอีนาเมล enamelpaints)เป็น ผลจากการที่เนื้อสีถูกผสมกับวานิชผลลัพธ์ทีได้จะทำให้ผิวมีความราบเรียบ มาก     หลังจาก ที่สีแห้ง สีอีนาเมลจะแห้งในอากาศ หรือโดยการอบให้ความร้อน
          - อีนาเมลอะคริลิก มีความเสถียรของสีดีที่อุณหภูมิสูง
          - อีนาเมลอีพอกซี มีความยืดหยุ่น ต้านทานสารเคมีและปกติต้องอบด้วยความร้อน
          - อีนาเมลฟีโนลิก ต้านทานสารเคมี น้ำ และน้ำมัน
          - อีนาเมลอัลคิด มีสีดีและมีความเงางาม ต้านทานความชื้นและสารเคมีจำนวนมากได้ เมื่อถูกผสมด้วยซิลิโคน การต้านทานความร้อนจะเพิ่มขึ้น
          - อีนาเมลซิลิโคน มีการต้านทานความร้อนได้เด่น
          - อีนาเมลยูรีเทน ต้านทานการขูดถลอก
          - อีนาเมลไวนีล ต้านทานความชื้นดี
5.  สีเคลือบฐานยาง ได้แก่ สียางคลอริเนต ใช้เป็นสีห้องกันกรด ด่าง แอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์แก๊สโซลีน และเกลือ แต่ไม่ทนต่อจาระบีที่ได้จากสัตว์ สีเคลือบนีโอเพรน (neoprene) ต้านทานต่อน้ำมัน ด่าง กรด และเกลือ

สีแบ่งตามพื้นผิวของวัสดุที่จะทาสี ดังนี้

1. สีน้ำอะครีลิค หรือ สีน้ำพลาสติก (Emulsion Paint )  เป็นสีที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายใช้ง่าย ล้างออกง่าย สีน้ำอะครีลิคเหมาะกับการใช้ทาผนังคอนกรีตเพราะเนื้อสีที่ผสมน้ำสามารถแทรก ซึมได้ดีในเนื้อคอนกรีตทำให้อายุการใช้งานยาวนาน สีน้ำอะครีลิคไม่เหมาะกับการนำไปทาบนผิวไม้หรือโลหะเพราะจะหลุดร่อนได้ง่าย สีน้ำอะครีลิคมีให้เลือกหลายเกรด มีทั้ง A,B,C ทั้งนี้ราคาก็แตกต่างกันไป มีตั้งแต่แกลลอนไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน สีชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน

http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQVnKy4aeM-Y0x5rLaG2G5oQyYU9rYg2aJuM4rjBQuxHNOV9ziX9Upo9fFs

      1.1 ชนิดใช้ทาภายนอก เป็นสีที่ต้องคุณภาพดีมากๆ ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ แข่งขันกันอย่างดุเด็ดเผ็ดมัน บางยี่ห้อก็บอกว่าอยู่ได้เป็นสิบปี ผมว่าไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนอายุการใช้งานก็ใกล้เคียงกันอยู่ที่การเลือกใช้ ให้เหมาะสม เช่น เลือกใช้สีเกรดเอ ใช้ชนิดกึ่งเงากึ่งด้านเพื่อป้องกันคราบสกปรกและจะต้องมีวิธีการทาอย่างถูก ต้อง ตามขั้นตอน เช่น จะต้องทาสีรองพื้นก่อนเสมอ ในกรณีที่เป็นผนังเก่าจะต้องล้างสีเก่าออกให้หมดปล่อยให้แห้งสนิทแล้วทาสี กันเชื้อราพร้อมทาสีรองพื้นปูนเก่าก่อนทาสีจริง เพียงเท่านี้สีบ้านคุณก็จะคงทน สีน้ำอะครีลิคมีให้เลือกทั้งชนิดเงาและชนิดกึ่งเงากึ่งด้าน ซึ่งถ้าจะให้ผมแนะนำควรเลือกใช้ชนิดกึ่งเงากึ่งด้านเพื่อความคลาสสิกของบ้าน และลดแสงสะท้อนภายนอกด้วย

      1.2 ชนิดทาภายใน สีชนิดนี้เลือกใช้ได้ไม่ยาก เอาเป็นว่าเลือกใช้สีคุณภาพปานกลางก็พอ เนื่องจากอยู่ภายในไม่ต้องเจอกับสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวนเดี๋ยวแดดออก เดี๋ยวฝนตก ดังนั้นการเลือกใช้จึงง่ายใช้ยี่ห้อใดก็ได้ เพียงแต่ต้องทาสีรองพื้นที่มีคุณภาพดีหน่อย เนื่องจากสีรองพื้นที่ดีจะช่วยกันความชื้นและปกป้องเชื้อราที่เกิดจากความ ชื้นอีกด้วย สำหรับสีภายในผมขอแนะนำให้ใช้สีกึ่งเงากึ่งด้าน โดยมีสัดส่วนเงา 30 เปอร์เซ็นต์ ด้าน 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด

โดยทั่วไปจะแบ่งเกรด หรือคุณภาพของสีดังต่อไปนี้

      เกรด A เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางยุโรป การรับประกันจะอยู่ประมาณ    5-10 ปี มักใช้ทาภายนอก โดยเฉพาะอาคารสูง หรือบ้านที่มีราคาแพง
      เกรด B เป็นสีที่มีอะครีลิค 100 % ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางแถบเอเซีย การรับประกันะอยู่ประมาณ 3 -5 ปี มักใช้ทาภายนอก หรือ ภายใน
      เกรด  C เป็นสีที่การผสมสารปรุงแต่ง 30 % และมีอะครีลิค  70 %  การรับประกันจะอยูที่ประมาณ  1 – 2 ปี มักใช้ทั้งทาภายนอก และภายใน
      เกรด  D  จะเป็นสีที่มีการผสมสารปรุงแต่งมากกว่า 30 %


2. สีน้ำมัน เป็นสีที่ใช้สำหรับทาเหล็ก และไม้ เป็น สีที่ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย หมายความว่าเมื่อผสมสีทาไปแล้วเกิดสีแห้งทำให้เกิดความหนืดในการทาก็ให้ผสม ทินเนอร์ลงไปก็จะทำให้สีทาง่ายขึ้น สีน้ำมันเหมาะสำหรับใช้ทาพื้นผิวไม้และเหล็กจะทำให้ยืดอายุการใช้งานของ วัสดุและสร้างความงดงามให้กับผิววัสดุภายนอก สีชนิดนี้ไม่เหมาะกับการใช้ทาไม้เทียมและผิวคอนกรีต เพราะอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น จากประสบการณ์ทาได้ไม่นานก็หลุดร่อนแล้ว สีน้ำมันมีให้เลือกทั้งชนิดเงาและด้าน

http://www.meprompt.com/images-Product/Color_Oil/TOA_Paint_B.jpg

3. สีย้อมไม้ เป็นสีที่ใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ทำให้เนื้อไม้มีสีที่เราต้องการ สีชนิดนี้ใช้สำหรับบ้านที่มีส่วนประกอบผนังบ้านเป็นไม้ และต้องการโชว์ลวดลายของไม้ จึงเหมาะเป็นอย่างมาก สำหรับท่านที่ต้องการรักษาความงดงามของเนื้อไม้ให้อยู่กับท่านได้ยาวนาน สีย้อมไม้ชนิดนี้สามารถเลือกสีที่ต้องการได้หลายเฉดสี

http://aunbangpo.com/userfiles/product-image7/.jpg

4. สีเคลือบไม้ เป็นสีที่ใช้ทาพวกไม้ต่างๆ ให้เห็นลายธรรมชาติของไม้ เช่น พวกเล็คเกอร์เชลแล็ก เป็นพวกรักษาเนื้อไม้ เป็นสีที่ใช้สำหรับเคลือบเนื้อไม้ไว้ไม่ให้ทรุดโทรมเร็ว และยังเพิ่มความเงางามให้กับเนื้อไม้อีกด้วย เช่น แลคเกอร์ ยูนิเทน เป็นต้นโดยถ้าเป็นไม้ภายในแนะนำสีแลคเกอร์ ถ้าเป็นภายนอกต้องใช้ประเภทยูนิเทรนหรือเคมเกรซเท่านั้น

http://www.dulux.co.th/filepreview.jsp?id=63&type=prdthm

5. สีรองพื้นผิวปูนใหม่หรือ ผิวปูนใหม่ หรือผิวปูนเก่า เป็นสีที่ใช้สำหรับเตรียมพื้นผิว ลดความเป็นกรด หรือด่างของผิวปูน ทำให้การยึดเกาะเมื่อทำการทาสีจริง หรือสีทับหน้าดียิ่งขึ้น เป็นสีน้ำพลาสติกหรือสีน้ำอะครีลิคก็ได้ โดยเลือกผลิตภัณฑ์จากอายุงานที่ท่านต้องการ เพราะสีน้ำก็มีหลายเกรดหลายอายุงาน

http://www.toagroup.com/contents/images/product-20121218-114114.jpg
6. สีกันสนิม  เป็นสีที่ใช้ทาเหล็ก จะทารองพื้นเพื่อกันสนิมก่อนทาสีจริง
      ส่วนประกอบสำคัญในการเลือกใช้สีกันสนิมสารที่ใช้เป็นส่วนประกอบควรเลือกให้เหมาะสมกับงานเช่น

http://www.191sale.com/images/column_1228792581/4_resize.jpg

    
      1. สีรองพื้นแดงกันสนิม (สีรองพื้นเรดออกไซด์) สำหรับงานเหล็กที่ต้องการความประหยัด สีนี้มีการผสมออกไซด์ของเหล็ก ทำให้มีสีน้ำตาลแดง แห้งเร็ว ทาแล้วให้ฟิล์มสีหนา และให้การยึดเกาะดี

http://www.toagroup.com/contents/images/product-20121210-144039.jpg

      2. สีรองพื้นกันสนิม (เรดเลดอร์ออนออกไซด์) ให้ประสิทธิภาพกันสนิมบนพื้นผิวเหล็กสูง สีนี้มีการผสมออกไซด์ของเหล็กและผงตะกั่ว มีสีน้ำตาลแดง ทาแล้วให้ฟิล์มสีหนา แห้งเร็ว เหมาะสำหรับทารองพื้นในงานโครงสร้างเหล็กหรือใช้ทาทับบนสีรองพื้นกันสนิมเรด เลด เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบชั้นสี
      3. สีรองพื้นกันสนิม เรดเลด (สีเสนแห้งเร็ว) ให้ประสิทธิภาพกันสนิมบนพื้นผิวเหล็กสูงสุด สีนี้มีการผสมผงตะกั่ว ทำให้มีสีส้ม แห้งเร็ว กลบพื้นผิวได้ดี เหมาะสำหรับทารองพื้นงานเหล็กที่ต้องการความคงทนสูง หรืออยู่ในสภาวะที่ต้องการป้องกันความชื้น หรือการกัดกร่อนสูง เช่นบริเวณ ริมทะเล
      4. สีรองพื้นกันสนิม ซิงก์โครเมท สำหรับพื้นผิวสังกะสี และอะลูมิเนียม สีนี้มีการผสมผงสังกะสี และโครเมียม ทำให้มีสีเหลือง ให้การป้องกันสนิมได้ดีบนพื้นสังกะสีและอะลูมิเนียม
      5. สีรองพื้นวอชไพรเมอร์ สำหรับพื้นผิวสังกะสี อะลูมิเนียมและโลหะผสม โดยเป็นสีรองพื้นสองส่วน ซึ่งรวมเอาน้ำยาเคลือบโลหะและสีรองพื้นกันสนิมไว้ด้วยกัน ให้การยึดเกาะที่ดีมากบนพื้นผิวสังกะสีอะลูมิเนียม โลหะผสม เพื่อให้สีที่ทาชั้นต่อไปสามารถยึดติดกับพื้นผิวได้
7. สีสำหรับงานเฉพาะอย่าง
      1. น้ำมันดำกันสนิมเหล็ก เป็นสีประเภทยางเหนียว (ยางมะตอย) สามารถยึดเกาะได้บนพื้นผิวทุกชนิด มีความยืดหยุ่นดี และช่วยป้องกันการแทรกซึมของน้ำ เพื่อช่วยไม่ให้เกิดสนิม เช่น ใต้ท้องรถยนต์ ถังใต้ดิน สมอเรือ เป็นต้น
      2. โคลทาร์อีพ็อกซี เป็นสีระบบสองส่วนที่มีคุณภาพในการยึดเกาะดี แข็ง ทนต่อการขัดถู ทนต่อน้ำ น้ำมันดิบ กรดอ่อน ด่างอ่อน และป้องกันการเกิดสนิมได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับงานโครงสร้างเหล็ก ท่อน้ำ ท่อส่งน้ำมันดิบ รวมถึงงานไม้ และงานคอนกรีตอื่นๆ
      3. สีทนความร้อน ผลิตจากซิลิโคนเรซิ่นผสมกับผงสีทนความร้อน สามารถทนความร้อนได้ถึงอุณหภูมิ 650 C (1200 F) จึงเหมาะกับงานประเภทปล่องไฟ ตู้อบ ท่อไอเสียรถยนต์ ท่อไอเสียรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
      4. สีจราจรทาถนน ผลิตจากยางสังเคราะห์ที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ แห้งเร็ว ให้ฟิล์มสีหนา มีการยึดเกาะดี มีอายุการใช้งานยาวนาน มีทั้งแบบสะท้อนแสงและไม่สะท้อนแสง ใช้ได้ทั้งบนพื้นผิวคอนกรีตและพื้นยางมะตอย

สีสำหรับงานไม้และเฟอร์นิเจอร์
http://www.thaicarpenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538986646&Ntype=2
     วัตถุประสงค์ของการเคลือบสีผิว คือ การเพิ่มความสวยงามตามธรรมชาติของไม้ให้ดูดีขึ้น กระบวนการนี้ทำให้ได้ไม้ที่มีสีตามต้องการ และช่วยป้องกันเนื้อไม้จากการใช้งานประจำวัน ตลอดจนสารละลายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้กันทั่วไป กระบวนการเคลือบสีผิวนี้ จะเน้นที่ลักษณะของแบบ เทคนิคการเคลือบสีผิวสมัยใหม่ ที่ช่วยทำให้ความงามที่แท้จริงของเนื้อไม้ปรากฏชัด นอกจากนี้ ยังช่วยให้งานแบบเดียวกัน แต่มีสีต่าง ๆ กันอีกด้วย
      นอกจากนี้ การเคลือบสีผิว ยังมีประโยชน์ต่อการใช้ไม้ที่มีราคาถูก โดยเคลือบสีผิว ให้ดูคล้ายไม้ที่มีราคาแพง สารที่ใช้ในการเคลือบสีผิว จะต้องทนทานต่อรอยขีดข่วน การขัดถู และสารปกป้องเนื้อไม้จากการเปลี่ยนแปลงความชื้นอย่างรวดเร็ว

ชนิดและคุณสมบัติของสีที่ใช้เคลือบผิว
1. แชลแล็ค มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
      - แชลแล็คผง  มีลักษณะเป็นผง เม็ดกลม สีเหลืองอ่อนๆ โดยทั่วไป นิยมเรียกว่า แชลแล็ค ขาว
      – แชลแล็คเกล็ด  มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ คล้ายกระดาษแก้ว เป็นแผ่นเล็กๆ ขนาดประมาณ 1” บางทีเรียกว่า แชลแล็ค สีส้ม เพราะเกล็ดมีสีออกแดงส้ม แชลแล็ค ทั้ง 2 ชนิด จะนำมาหมักกับ เมทิลแอลกอฮอล์ 100% โดยแช่แชลแล็ค กับแอลกอฮอล์
      ปัจจุบัน นิยมใช้ขวดไนล่อนแทน เพราะหาง่าย น้ำหนักเบา มีฝาปิดมิดชิด เคลื่อนย้ายไปมาสะดวก ผิวเรียบ ขนาดพอเหมาะ สามารถยกเทได้ (ห้ามใช้ภาชนะเป็นโลหะในการหมักแชลแล็ค กับแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ทำปฏิกิริยากับโลหะ ทำให้แชลแล็ค เสียได้)

http://www.thaitechno.net/uploadedimages/c1/Product_35566_545043971_fullsize.jpg

 2. สารกันซึม (Sealer)


http://www.thaicarpenter.com/images/column_1292919710/IMG_1039_resize.jpg

ใช้เคลือบผิวหน้าวัสดุที่มีรูพรุนสูง หรือใช้เคลือบวัสดุที่ปล่อยสารบาง ประเภทออกมา ซึ่งจะทำให้ฟิล์มของสีเสียหายได้ สารกันซึมมีหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้ความชื้นซึมผ่านผิวไม้ เสริมการยึดเกาะระหว่างสีชั้นถัดไปกับพื้นผิววัสดุ ป้องกันไม่ให้เกิดรอยด่าง หรือรอยตำหนิ ที่จะเกิดหลังจากเคลือบสีชั้นถัดไป ในโรงงานอุตสาหกรรม นิยมใช้ เป็นตัวรองพื้น ซึ่งสารกันซึมนี้ ต่อมาในภายหลัง เริ่มมีการพัฒนาควบคู่ไป กับสี ที่เราเรียกกันว่า ไฮกรอส ในลักษณะสีพ่น ผู้บริโภค หลายท่าน คงพอทราบปัญหากันอยู่ว่า เฟอร์นิเจอร์พ่นสีขาว เมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดเปลี่ยนสี กลายเป็นสีเหลืองแทน จริงๆ แล้ว ไม่เฉพาะสีขาว สีทุกสี มีการเปลี่ยนสีตัวเองทั้งสิ้น เพียงแค่เราไม่ได้มีตัวอย่างสีต้นแบบ เปรียบเทียบภายหลัง ซึ่งถ้ามาเปรียบเทียบอีกที เราจะพบได้ว่า สีทุกสี มีการเปลี่ยนแปลง ปัญหานี้ สมัยก่อน ก่อให้เกิดปัญหากับโรงงาน ที่ต้องมีการรับประกันสินค้า เป็นระยะเวลามาก-น้อยแล้วแต่ตกลง แต่ทั่วไปอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งสินค้าสีพ่นเหล่านั้น เมื่อถูกจัดวางโชว์ ต้องมีการใช้ไฟช่วยให้โดดเด่น เจอความร้อนเร่งเร้านานๆ สีที่พ่นไว้ จะเริ่มมีรอยด่างเหลือง หรือไม่ก็สี จะเริ่มเพี้ยนจากตัวอย่างสีต้นแบบ ในเวลารวดเร็ว ที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าแผ่นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะเป็น ไม้อัด, PB, MDF (ตอนนั้น แผ่น HDF ยังไม่ถูกผลิตออก จัดจำหน่าย) วัตถุดิบพื้นฐาน ที่ใช้ผลิตแผ่นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้น มาจากไม้ทั้งสิ้น ซึ่งโดยธรรมชาติของไม้ จะมียางอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อนำแผ่นผลิตภัณฑ์ หรือว่าไม้จริง มาใช้งาน โดยปกติ จะมียางไม้ซึมขึ้นมา เมื่อนำสีไปพ่นทับไว้ ยางเหล่านั้น ก็จะทำปฏิกิริยากับสี ทำให้เห็นเป็นรอยด่างเหลืองเป็นจุด หรือขึ้นทั่วทั้งแผ่น จนสีเพี้ยนไปจากเดิม ยิ่งโดนไฟ, ความร้อน หรือแสง ยิ่งเป็นตัวเร่ง ให้ยางไม้ซึมขึ้นมาได้เร็วขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการพัฒนาสารกันซึม ที่มีคุณสมบัติบล็อกยางไม้ ไม่ให้ซึมขึ้นมาได้ โดยส่วนใหญ่ จะเรียกว่า สารกันยาง ซึ่งสารตัวนี้ ภายหลังมีการพัฒนาปรับปรุง ให้กลายเป็น สีรองพื้นกันยาง โดยใส่เนื้อสีขาวลงไปด้วย เพื่อปรับสภาพสีแผ่นผลิตภัณฑ์ ให้กลายเป็นสีขาวก่อน ที่จะพ่นสีจริงลงไป เพื่อให้ได้โทนสี ที่แท้จริง หลังพ่นสีจริงเสร็จ
3. น้ำมันวานิช (VANISH)

                                           
http://www.toagroup.com/contents/images/product-20121211-110842.jpg


เป็นเรซิ่นสังเคราะห์ ที่ใช้เคลือบไม้เพื่อรักษาเนื้อไม้ และป้องกันน้ำได้ วานิชชนิดนี้ ถูกเรียกว่า แอลกฮอล์วานิช หรือวานิชระเหย ซึ่งเป็นวัสดุเคลือบผิวราคาถูกที่ทำมาจากการละลายยางธรรมชาติ ปัจจุบันในวงการสีอุตสาหกรรม ไม่นิยมใช้ เนื่องจาก แห้งช้า, ไม่ทนต่อการขูดขีด, ไม่ทนต่อสารเคมี แต่ปัจจุบัน มีบริษัทสี หลายแห่ง นำน้ำมันวานิช มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผสมผงสีลง ปรับแต่งโทนเนื้อสี ให้เป็นโทนสี ที่นิยมใช้ในตลาดทั่วไป รวมถึงปรับปรุงสารละลาย และสารเคลือบผิว นำออกจำหน่าย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และสะดวกต่อการใช้งาน


4. สีอะมิโน

                          

http://www.tai-yopaints.com/images/products/prod01/pic_prod01_1_5color.gif

ยูเรียเรซิน เป็นสารเคลือบผิว ซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างกรดกับอมิโนอัลคิด ราคาไม่แพงนัก เมื่อเทียบกันค่า % Solid ที่สูง,ค่า Hardness การทนต่อการขูดขีด และทนต่อตัวทำละลาย แต่จะมีกลิ่นของ Formalin ค่อนข้างแรง และจะเกิดการกระเทาะ (รอยร้าว) ได้เมื่อนำมาอบหรือใส่ในตู้อบ ซึ่งสารเคลือบผิวชนิดนี้ ยังคงมีใช้กันอยู่ ในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ด้านกรอบรูป
5. ทีค ออยล์ (TEAK OIL)


http://www.meprompt.com/images-Product/Color_Carpenter/Woodtect_Teak_Oil_B.jpg


เป็นน้ำมันที่ช่วยรักษาเนื้อไม้ ซึ่งซึมเข้าไปบนเนื้อไม้ได้ดี เพื่อช่วยให้สภาพผิวไม้สวยงามและ มีความคงทน จะไม่มีเนื้อฟิล์มปิดผิว เหมือนสีประเภทอื่นๆ ปัจจุบัน นิยมใช้กับงานไม้สัก ที่ชอบเนื้องานแบบดิบๆ หลายๆ ท่าน ยังแนะนำให้ใช้สีประเภทนี้ สำหรับการรักษาเนื้อไม้อยู่ ข้อควรระวังสำหรับการเลือกใช้ ต้องเลือกใช้ ให้ถูกลักษณะงานด้วย อย่างที่บอกไว้ว่า สารประเภทนี้ จะเป็นลักษณะน้ำยารักษาเนื้อไม้ ไม่ใช่สารเคลือบผิว เหมือนสีต่างๆ เพราะฉะนั้น การที่จะใช้สารตัวนี้ ให้เกิดผลดีมากที่สุด ควรใช้กับชิ้นงาน ที่มีความหนาไม่มาก, ความชื้นในเนื้อไม้ไม่สูง หรือความชื้นคงที่แล้ว เวลาใช้งานอย่าเสียดาย เพราะสารตัวนี้ จะต้องซึมลงไปในชั้นไม้ ยิ่งซึมลงไปได้เยอะมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น ชิ้นงานหนา, ความชื้นมาก จะเป็นอุปสรรคของการซึมเข้าของสารชนิดนี้ครับ

6. สีแลคเกอร์
                           

http://www.toagroup.com/contents/images/product-20121211-104918.jpg

ทำจากไนโตรเซลลูโลส และ เรซิ่นสังเคราะห์ มีคุณสมบัติแห้งเร็ว วิธีการใช้งานง่าย ทนต่อสภาพภูมิอากาศ ทนต่อสารเคมีบางชนิด มีความแข็งแรงทนต่อการขีดข่วนได้พอสมควร ไม่เหมาะสำหรับใช้ภายนอก เพราะสีจะเหลืองง่าย และมักติดไฟได้ง่าย
       สีแลคเกอร์ เป็นสีที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในงานเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจาก เนื้อสีมีน้ำหนักเบา, หาซื้อได้ง่าย และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง

7. สีอคิลิค แลคเกอร์

http://www.weloveshopping.com/shop/baanlaesuan/807270007006.jpg

ทำจากอคิลิคเรซิ่น มีคุณสมบัติแห้งเร็ว ใช้ง่าย ทนต่อสภาพภูมิอากาศ กันขูดขีดได้ดีกว่าแลคเกอร์ นอกจากนี้ ยังทนต่อแสงแดดได้ดี ทำให้ฟิล์มไม่เปลี่ยนสี หรือเหลืองขึ้น จึงนิยมใช้กับชิ้นงานพวกไม้มะปิน, ไม้ยางพารา หรือไม้เนื้อขาวทุกชนิด แต่ราคาค่อนข้างสูงกว่าแลคเกอร์ จึงไม่ค่อยนิยมใช้กัน จะหลีกเลี่ยง ไปใช้สีประเภท PU หรือ PE แทน

8. สีโพลียูรีเทน


http://www.thaitechno.net/uploadedimages/c1/ProductThumb_35566_971688320_fullsize.jpg

โพลียูเรเทน เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง โพลีไอโซไซยากับโพลีออล มีความแข็งแรงมาก ทนต่อการขูดขีดทนต่อสารเคมีได้ดี และมีเนื้อมาก สามารถเคลือบได้ครั้งละหนา ๆ ฟิล์มที่ได้มีความแข็งและเหนียว,ทนต่อการขัดสีสูง มีการยึดเกาะผิวหน้าดี,ทนต่อตัวทำลาย และทนต่อสภาพภูมิอากาศได้ดี มักนิยมใช้กับงานพื้นปาร์เก้, พื้นไม้จริง, ชิ้นส่วนงานเฟอร์นิเจอร์ส่งออกบางแห่ง ที่ต้องสัมผัสบ่อยครั้ง เช่น พื้นโต๊ะทานข้าว, พื้นบนตู้วางทีวี


9. สีโพลีเอสเตอร์

                              

http://www.thaicarpenter.com/images/column_1292919710/1254968627.gif

เป็นสี ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากสารโพลีเอสเตอร์เรซิ่น มีความทนทานของพื้นผิว อยู่ในระดับสูง เนื้อสี มีความหนักมาก ขั้นตอนการพ่นแต่ละขั้น จะต้องทิ้งไว้ให้แห้ง อย่างน้อย 4 ชม. ถึงจะสามารถดำเนินการผลิต ในขั้นตอนต่อไปได้ แต่โดยส่วนใหญ่ จะถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจาก ภายในส่วนประกอบของเนื้อสี เมื่อสัมผัสกัน สามารถเกิดปฏิกิริยาสันดาปความร้อน เกิดเป็นเพลิงลุกไหม้ได้
 10. สีวอเตอร์เบส สีชนิดนี้ จะถูกใช้งาน ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตของเล่นเด็ก ซึ่งเป็นสีที่ใช้น้ำ เป็นตัวทำละลายแทน สารเคมี กระบวนการขัด, ทำสี จะใช้เครื่องจักร แตกต่างจากการทำสีทั่วไป

http://www.tai-yopaints.com/images/products/prod01/pic_prod01_1_11color.gif

11. สีแลคเกอร์ NTX และสีโพลียูรีเทน NTX เป็นสีที่ถูกพัฒนาขึ้นมา จากกระแส Think Earth ซึ่งจะลดสัดส่วนของส่วนผสมสารมีพิษต่างๆ ลง เพื่อให้เกิดสารระเหยน้อยที่สุด เช่น โทลูอีน, ฟอร์มาดีไฮด์, ตะกั่ว ฯลฯ

http://www.bloggang.com/data/k/ko7vasan/picture/1254968583.gif



สีสเปร์ย หรือสีแอโรซอล (aerosol paint)
        สีสเปรย์ คือ สีละอองลอยที่ใช้งานโดยวิธีการพ่นออกจากภาชนะบรรจุซึ่งเป็นกระป๋องที่มีหัว ฉีด พ่น สีแอโรซอล หมายรวมถึงวาร์นิชและแลกเกอร์ใสซึ่งไม่มีสีด้วย
       แอโรซอลหมายถึงระบบที่มีอนุภาคของเหลวหรือของแข็งกระจาย ตัวอยู่ในก๊าซ ตัวอย่างเช่น หมอก ควัน สำหรับสีแอโรซอลนั้นประกอบด้วยสีในสภาพเหลว ซึ่งบรรจุอยู่ในกระป๋องที่มีก๊าซหรือก๊าซ เหลวเป็นสารขับดัน (propellant) โดยสารขับดันนี้จะช่วยให้สีพ่นออกมาเป็นละอองเล็กๆ เมื่อเปิดหัวฉีดพ่นโดยทั่วไปแล้ว สีประกอบด้วยสารยึด (binder) ผงสี (pigment) ตัวทำละลาย (solvent) และตัวเติม (additive) สีแอโรซอล มักใช้กับงานตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ และงานซ่อมแซมจึงต้องทำให้ใช้งานได้สะดวก และเป็นสีที่แห้งได้เองในอากาศ

http://www.thaitechno.net/uploadedimages/c1/ProductThumb_35566_587193446_fullsize.jpg
สีสเปรย์ ในท้องตลาด ส่วนใหญ่ แบ่งได้ ง่ายๆ เป็น 4 ประเภท
        1. สีโดยทั่วไป(รวมถึง เคลียร์มัน เคลียร์ด้าน และรองพื้น) คือ สีสเปร์ทั่วไป
        2. สีที่มีส่วนผสมของมุก หรือที่เรียกว่าสี Metallic นั่นเอง คือ สีจะเป็นประกาย เพราะมีเนื้อผงมุก หรือ ผงพลาสติก เล็กๆ ปนอยู่ เมื่อเวลาเจอแสงจะ ระยิบระยับ วับวาว
        3. สีสะท้อนแสง(Fluoresent) คือสีที่มีส่วนผสมเฉพาะ ที่จะทำให้ เนื้อสีมีอัตราการสะท้อนแสง มากกว่าปกติ เมื่อเวลา สัมผัสกับแสง
        4. สีพิเศษอื่นๆ ที่ทำหน้าที่เฉพาะ เช่น สีทนร้อน สีกันสนิม สีลายหินอ่อน สีโครเมียม สี Glow in the dark(เรืองแสงในที่มืด) ฯลฯ
ข้อมูลสีสเปร์ยเพิ่มเติม >>>  http://www.bosny.com/thai/spray.html
ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณงานทาสี
สีพลาสติก 1 แกลลอน ทาได้ 20 ตร.ม.
สีน้ำมัน 1 แกลลอน ทาได้ 18 ตร.ม.
สีน้ำมันรักษาเนื้อไม้ 1 ปี๊บ ทาได้ 50 ตร.ม.
สี 1 แกลลอน (แกลลอน) = 3.785 ลิตร หิ้ว
สี 5 (แกลลอน) = 18.925 ลิตร ถังใหญ่
1 แกลลอน ทาสีได้ 25 – 30 ตรม. -> 3.785 ลิตร ทาสีได้ 25 – 30 ตรม.1 ลิตร ทาสีได้ 6.605 – 7.926 ตรม. -> 5 ลิตร ทาสีได้ 33.025 – 39.63 ตรม.15 ลิตร ทาสีได้ 99.075 – 118.89 ตรม. ขนาดบรรจุที่ขายจริงกลับมีขนาด 9.4 ลิตร กับ 5 ลิตร 9.4 ลิตร ทาสีได้ 62.087 – 74.504 ตรม.

แหล่งที่มาข้อมูล http://www.vcharkarn.com/vblog/116163/25

Advertisement

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Top