การจัดวางตำแหน่ง ท่อต่างๆได้แก่ระบบท่อน้ำดี ระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบท่อน้ำเสีย และ ระบบท่อระบายอากาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพ ในการใช้ ตลอดจนอายุการใช้งานที่ยาวนานและเนื่องจากระบบท่อต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้ตามที่ต่างๆเช่นในผนัง พื้น ฝ้าเพดาน ฉะนั้น ก่อนการ ดำเนินการก่อสร้างต้องมีการวางแผนให้ดี เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุงในภายหลัง อุปกรณ์ในระบบประปา มีดังต่อไปนี้
1. ท่อประปา เป็นอุปกรณ์สำหรับนำน้ำจากแหล่งน้ำไปยังจุดต่างๆ ตามที่ต้องการใช้ หรือนำน้ำโสโครกออกไปจากบ้านเรือน ท่อประปาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ท่อโลหะและท่อพลาสติก
      -ท่อโลหะ ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี ทำด้วยเหล็กเคลือบผิวด้วยดีบุกหรือสังกะสี สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ดี แข็งแรง ทนทาน ในการติดตั้งใช้ข้อต่อชนิดเกลียว และเทปพันเกลียวเพื่อช่วยป้องกันการรั่วของเกลียวบริเวณรอยต่อ
ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆ เช่นเครื่องทำน้ำร้อน
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้นานๆ อาจเกิดสนิม ได้โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อมารับประทาน
      -ท่อประปา พีวีซี (PVC) เป็นวัสดุสังเคราะห์นิยมใช้กันมากในงานประปา เพราะราคาถูก ติดตั้งง่าย มีน้ำหนักเบา ผิวท่อมีความลื่นดี ทำให้น้ำหรือสิ่งสกปรกภายในท่อไหลออกจากท่อได้ดี การต่อท่อโดยใช้ข้อต่อและน้ำยาประสานเป็นตัวเชื่อม แต่บางทีข้อต่อท่ออาจจะใช้แบบสวมหรือแบบเกลียวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ข้อต่อ
ข้อดี น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า
ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง

http://kriangcharoen.net/uploadedimages/c1/Product_37819_154984462_fullsize.gif
ชนิดของท่อพีวีซี (PVC)
ท่อพีวีซี (PVC) แบ่งตามชนิดการใช้งานโดยใช้สีดังนี้
      1. ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสายโทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
      2. ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภทการใช้งาน (มีหลายเกรด)
      3. ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควรฝังดิน
2. ข้อต่อ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อท่อ มีขนาดต่างๆ กัน ใช้ในการเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำประปาหรือน้ำโสโครก หรือ ใช้อุดปลายท่อเมื่อทางเดินท่อสิ้นสุดลง ข้อต่อจะมีทั้งแบบชนิดที่ทำด้วยโลหะและพลาสติก

http://wsiriphant.com/Image/PVC-1.jpg

3. ลิ้น เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานประปา ใช้สำหรับปิดกั้นหรือควบคุมการไหลของน้ำหรือแก๊สที่ไหลผ่านท่อให้ได้ตามที่ ต้องการ ลิ้นทำด้วยบรอนซ์หรือเหล็กหล่อ ลิ้นที่มีขนาดตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไปจะทำด้วยบรอนซ์ แต่ลิ้นที่มีขนาดตั้งแต่ ครึ่งนิ้วถึง 2 นิ้ว จะทำด้วยเหล็กหล่อ ลิ้นมีหลายชนิด เช่น ลิ้นแบบเกทวาล์ว (บางที่นิยมเรียกกันว่า ประตูน้ำ) ลิ้นแบบบอลวาล์ว

4. มาตรวัดน้ำ เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านอาจวัดเป็นแกลลอน ลูกบาศก์ฟุต หรือลูกบาศก์เมตร โดยอ่านค่าจากหน้าปัทม์ของมาตรวัด ใช้ติดตั้งกับท่อเมนที่จ่ายน้ำก่อนเข้าสู่อาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้แบบดิสค์ (Disk Meters) เพราะมีความเที่ยงตรงสูง ใช้วัดในปริมาณน้อยๆ มีขนาดตั้งแต่ 5/8 – 2 นิ้ว

http://www.191sale.com/images/1174492756/1183803665.JPG

http://www.pwa.co.th/service/images/701.jpg

5. ก๊อกน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ตอนปลายสุดของท่อประปา สำหรับควบคุมการปิดเปิดการไหลของน้ำ ทำจากทองเหลืองหรือบรอนซ์ ชุบนิเกิลหรือโครเมี่ยม ปลายก๊อกส่วนใหญ่จะเป็นแบบเรียบหรือแบบเกลียวสำหรับต่อสายยางรดน้ำต้นไม้ ก๊อกน้ำแบ่งออกหลายประเภทซึ่งมีรูปร่างและประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกัน แต่ที่นิยมใช้กันมี 2 แบบ คือแบบกดอัดปิดและแบบไม่ใช้การกดอัดปิด ก๊อกน้ำแบบกดอัดปิด เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในงานประปา ก๊อกน้ำแบบนี้ปิดเปิดด้วยวิธีการหมุนให้ลิ้นยางอัดลงบนบ่า ส่วนก๊อกน้ำแบบไม่ใช้การกดอัดปิด จะเปิดปิดโดยการใช้คันโยกเพียงอันเดียวผลักซ้ายขวาหรือดึงขึ้นลงเท่านั้น

http://www.wsiriphant.com/web/components/com_virtuemart/shop_image/product/gatewarter.jpg
6. เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานประปา ที่อำนวยความสะดวกสบายในการใช้น้ำ และเป็นอุปกรณ์รองรับสิ่งปฏิกูลจากมนุษย์ก่อนการระบายออกจากระบบประปา เครื่องสุขภัณฑ์มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์ในการใช้สอยที่แตกต่างกัน เช่น    โถส้วม โถปัสสาวะ อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า อ่างล้างจานชาม เป็นต้น

http://www.rumruay.com/img/ec8/375/ec8375cebea979b04c8c4a7a8dc0af96_1.jpg

7. อุปกรณ์อื่นๆในงานต่อท่อประปา
      7.1 เทปพันเกลียว (Teflon Tape) ในการต่อประกอบท่อโลหะหรือท่อพลาสติกที่มีเกลียวเข้ากับข้อต่อต่างๆ หรือก๊อกน้ำต้องซีลการรั่วไหลของน้ำที่เกลียวท่อ โดยมากเทปซีลจะใช้กับท่อขนาดเล็ก ถ้าเป็นท่อขนาดใหญ่จะใช้ป่านหรือสารสังเคราะห์พวกยางในการซีล ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้ ท่อขนาดไม่เกิน 6 หุน จะพันเกลียวไม่เกิน 3 รอบ ท่อขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว จะพันเกลียวไม่เกิน 4 – 6 รอบ ทั้งนี้การพันจะมากหรือน้อยรอบนั้น ยังขึ้นอยู่กับความหนาบางของเทปอีกด้วย เพราะเทปพันเกลียวในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 4 สี เขียว ฟ้า ดำ แดง ตลับสีเขียวบางสั้น และขาดง่าย แต่ราคาถูก ตลับสีฟ้า บาง ยาว และขาดง่าย ส่วนตลับสีดำและแดง หนาและขาดยากกว่า แต่ราคาแพงกว่า วิธีพันเกลียว ให้เริ่มพันจากปลายท่อโดยพันตามเกลียวไปจนสุดเกลียว

      7.2 น้ำยาต่อท่อพลาสติก การต่อท่อพลาสติกอาจต่อด้วยน้ำยาต่อท่อหรือต่อด้วยแหวนยางก็ได้ แต่ที่นิยมคือ การต่อท่อด้วยน้ำยาต่อท่อ ซึ่งน้ำยาต่อท่อนี้จะช่วยละลายให้ผิวท่อพลาสติกอ่อนตัวให้ละลายติดกัน การเลือกใช้น้ำยานั้นจะต้องเลือกให้ถูกต้องกับชนิดของท่อพลาสติก แต่ละชนิดมีโครงสร้างของโมเลกุลที่ไม่เหมือนกัน ท่อ PVC อาจจะต้องใช้น้ำยารองพื้นก่อนเพื่อให้ผิวท่อสะอาด น้ำยาต่อท่อจึงจะละลายผิวท่อได้ดี ซึ่งจะทำให้รอยต่อนั้นแข็งแรง การต่อท่อ การต่อท่อเพื่อจ่ายน้ำ ระบายน้ำเสีย ระบายอากาศ หรือต่อเข้าเครื่องสุขภัณฑ์ โดยวัสดุท่อชนิดต่างๆตามความเหมาะสม ต้องคำนึงถึงความทนถาวร ประหยัด และประโยชน์ใช้สอยให้มากที่สุด ดังนั้น งานต่อท่อจึงหมายถึง การวัดระยะท่อ การตัด การทำเกลียว การต่อท่อโดยไม่มีการรั่วไหล ระบบประปาที่ดีนั้นจะต้องมีการต่อให้น้อย

      7.3 กิ๊ปจับท่อ เป็นอุปกรณ์สำหรับจับยึดท่อน้ำ วางแนวท่อระบบประปาภายในบ้าน



ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.vcharkarn.com/

Advertisement

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Top