โลหะมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก  เนื่องจากสภาพปัจจุบันป่าไม้เมืองไทยมีจำนวนลดน้อยลง ไม้ก็เริ่มหายากและมีราคาแพง โลหะจึงมีบทบาทนำมาใช้แทนไม้ เพื่อทำเป็นเครื่องใช้สอยต่างๆ ชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โลหะที่พบมากในชีวิตประจำวันได้แก่ เหล็ก อะลูมิเนียม เงิน ทองแดง นิกเกิลโครเมียม ฯลฯ โลหะที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ทั้งในรูปที่เป็นโลหะชนิดเดียวบริสุทธิ์ เช่น ทองแดงใช้ทำสายไฟ  อะลูมิเนียมใช้ทำภาชนะในครัวเรือน เพราะไม่ขึ้นสนิมง่าย และในรูปที่เป็นโลหะผสม เช่นทองเหลือง สัมฤทธิ์ เหล็กกล้าผสม เป็นต้น

ประเภทวัสดุโลหะ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
        1. โลหะที่เป็นเหล็ก (Ferrous Metal) โลหะ จำพวกเหล็กมีอยู่หลายชนิด ซึ่งมีคุณภาพและลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานที่ใช้ มีทั้งแบบหล่อสำเร็จรูป และชนิดที่นำมาทำเป็นรูปร่างทีหลัง เช่น กระบอกสูบ เหล็กเส้น เหล็กแผ่น และเหล็กผสม เป็นต้น
โลหะจำพวกเหล็ก เป็นวัสดุที่สำคัญที่สุด เราสามารถทำเหล็กให้เป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ด้วยการหล่อ ตี กลึง ฯลฯ เหล็กมีที่ใช้มากและเป็นโลหะที่มีราคาถูกกว่าโลหะอื่นๆ เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนเครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ ส่วนมากทำจากเหล็ก เหล็กเหล่านี้มีคุณภาพแตกต่างกันตามชนิดของมัน ซึ่งพอจะแยกโลหะจำพวกเหล็กออกได้ดังนี้
        เหล็กกล้า ลักษณะของเหล็กเหนียวนี้สามารถตีให้เป็นรูปต่างๆได้ ผิวเรียบ ละเอียด สีน้ำเงินปนเทา
        เหล็กหล่อ เป็นเหล็กที่เปราะไม่สามารถตีให้เป็นรูปต่างๆได้ ผิวหยาบ สีเทาหรือเทาคล้ำ
        2. โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก ( Non ferrous metal) มี ทั้งชนิดหนักและเบา ชนิดหนักได้แก่ บรอนซ์ ดีบุก สังกะสี ทองแดง ทองเหลือง และโลหะผสม โลหะชนิดเบาได้แก่ อลูมิเนียม ไฮโดรนาเลียม โลหะผสมแมกนีเซียม ฯลฯ

วัสดุใช้งานและขนาดที่ผลิตจำหน่ายในท้องตลาด
วัสดุใช้งานแบ่งออกได้เป็น วัสดุกึ่งสำเร็จ และ วัสดุสำเร็จ
1. วัสดุกึ่งสำเร็จ ได้แก่วัสดุที่เป็นแท่งโลหะ แผ่นโลหะ ท่อโลหะ เส้นโลหะ วัสดุจำพวกนี้จะต้องผ่านมือช่างโลหะทำออกให้เป็นชิ้นส่วนต่างๆ จึงเรียกว่า "วัสดุกึ่งสำเร็จ" วัสดุเหล่านี้ทำขึ้นจากการรีด ดึง หรืออัด แล้วนำมาดัดแปลงทำเป็นรูปร่างตามต้องการ
        2. วัสดุสำเร็จ ได้แก่วัสดุที่ผลิตออกมาสำเร็จ รูปแล้ว สามารถนำมาประกอบชิ้นส่วนต่างๆได้โดยไม่ต้องดัดแปลง เพราะสามารถนำมาใช้ได้ทันที เช่น ตะปูเกลียว สลักหมุดย้ำ ฯลฯ ถ้าวัสดุเหล่านี้ทำขึ้นตามมาตรฐาน เราเรียกว่า ส่วนมาตรฐาน
        ขนาดที่ผลิตจำหน่ายในท้องตลาด ผู้ใช้จะต้องรู้ว่า ทั้งวัสดุกึ่งสำเร็จและวัสดุสำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดนั้น มีขนาดอย่างไร ควรรู้เป็นพื้นฐานบ้างเพื่อความสะดวกในการซื้อและ การทำงาน ตลอดทั้งการคำนวณงานให้ถูกต้องเวลาจัดซื้อของ เพื่อไม่ให้เหลือเป็นเศษเหล็กมากเกินไป หากคำนวณผิดพลาดเพราะไม่รู้ขนาดของโลหะที่จำหน่ายในท้องตลาด จะทำให้เสียเงินโดยไม่จำเป็น ในชั้นนี้ควรรู้ขนาดของโลหะโดยสังเขปดังนี้

วัสดุกึ่งสำเร็จ
        เหล็กเส้น   ส่วนมากมีความยาวประมาณ 10 เมตร
        เหล็กขนาดใหญ่   ส่วนมากมีความยาว 6 เมตร
        เหล็กแผ่น   มีขนาด 3x6 ฟุต และ 4x8 ฟุต ส่วนความหนามีหลายขนาดขึ้นอยู่กับชนิดงานที่จะใช้
วัสดุสำเร็จ
        มีหลายขนาดซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ผู้ใช้เลือกใช้ตามความต้องการ มีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด เช่น ตะปู หมุดย้ำ ขนาดต่างๆ

http://www.quinl.com/uploadExtraMenuImages/sUiBj5V-001.jpg

ชนิดของโลหะแผ่นที่ใช้กันอยู่ทั่วไป มี
        1. เหล็กแผ่น (Sheet steel)
        2. สังกะสีแผ่น (Galvanized sheet)
        3. ดีบุกแผ่น (Tin plate)
        4. ทองแดงแผ่น (Sheet copper)
        5. ทองเหลืองแผ่น (Sheet Brass ,Cu+Zn)
        6. อลูมินั่มแผ่น (Sheet Aluminium)

เหล็กแผ่น
        เหล็กแผ่นที่ขายในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด และหนาบางต่างๆกัน ส่วนผสมของเหล็กแผ่นนั้น นอกจากธาตุเหล็กเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีสารจำพวกถ่าน เช่น แมงกานีส กำมะถัน ซิลิกอน และอื่นๆผสมเจือปนอยู่เป็นส่วนน้อย ความจริงแล้วเหล็กสามารถผสมกับธาตุอื่นได้หลายอย่าง ซึ่งส่วนผสมนั้นเรียกว่า เหล็กกล้า (steel) ทั้ง นั้น ธาตุที่มักนำมาผสมกับเหล็กเพื่อให้ได้เหล็ก กล้าก็มี ถ่าน โครเมียม ทองแดง วานาเดียม แมงกานีส โมลิบดินัม ซิลิกอน ทังสะเตน นิเกิ้ล และ อื่น ๆ อีกมาก

เหล็กกล้า
        คือ เหล็กที่ผ่านการเพิ่มธาตุโลหะอื่นๆเข้าไปเพื่อปรับคุณสมบัติของเหล็กเป็น โลหะผสมมีปริมาณคาร์บอนประมาณ 0.2-2.04% คาร์บอนเป็นวัสดุผสมที่ลดต้นทุน แต่มีการใช้ธาตุอื่นๆผสมด้วย เช่น แมงกานีส โครเมียม วานาเดียม ทังสเตน คาร์บอน และอื่น ๆ การเปลี่ยนปริมาณธาตุโลหะเป็นตัวกำหนดคุณภาพทั้งด้าน ความแข็ง การขึ้นรูป การรีด และความตึงของเหล็กกล้า
          เหล็กกล้าแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลัก คือ
                1. เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) คือ เหล็กกล้าที่เพิ่มธาตุคาร์บอนเข้าไป เพื่อเพิ่มคุณสมบัติทางกลให้กับเหล็ก
                2. เหล็กกล้าประสม (Alloy Steel) มีชื่อเรียก ที่เกิดจากการผสมธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปดังนี้

ประเภทของเหล็กกล้า
        1. เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) มีส่วนผสมของคาร์บอนเป็นหลักที่ไม่เกิน 1.7% และมีธาตุอื่นผสม เช่น ซิลิคอน ฟอสฟอรัส กำมะถัน และแมงกานีส ในปริมาณน้อย จะติดมากับเนื้อเหล็กตั้งแต่เป็นสินแร่ เหล็กชนิดนี้เป็นวัสดุช่างชนิดเดียว ที่มีคุณสมบัติทางความแข็งแรง (Strength) และความอ่อนตัว (Ductility) ที่เปลี่ยนแปลงได้กว้างมากตามปริมาณของคาร์บอนที่มีอยู่ในเหล็ก ทำให้เหมาะที่จะเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของลักษณะงานบางครั้งที่เรียกว่า "Mild Steel"  ประเภทของเหล็กกล้าคาร์บอนแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
            1.1  เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steel) เป็น เหล็กเหนียวแต่ไม่แข็งแรงนัก สามารถนำไปกลึง กัด ไส เจาะได้ง่าย เนื่องจากเป็นเหล็กที่อ่อน สามารถรีดหรือตีเป็นแผ่นได้ง่าย เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการความเค้นแรงดึงสูงนัก ไม่สามารถนำมาชุบแข็งได้ แต่ถ้าต้องการชุบแข็งต้องใช้วิธีเติมคาร์บอนที่ผิวก่อน เพราะมีคาร์บอนน้อย (ไม่เกิน 0.2%) ตัวอย่างการใช้งาน เช่น เหล็กแผ่นหม้อน้ำ ท่อน้ำประปา เหล็กเส้นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เหล็กเคลือบดีบุก เช่นกระป๋องบรรจุอาหาร เหล็กอาบสังกะสี เช่น แผ่นสังกะสีมุงหลังคา ทำตัวถังรถยนต์ ถังน้ำมัน งานย้ำหมุด ทำสกรู ลวด สลักเกลียว ชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักร โซ่ บานพับประตู
            1.2  เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงมากกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ แต่มีความเหนียวน้อยกว่า นอกจากนี้ยังให้คุณภาพในการแปรรูปที่ดีกว่าและยังสามารถนำไปชุบผิวแข็งได้ เหมาะกับงานที่ต้องการความเค้น ดึงปานกลาง ต้องการป้องกันการสึกหรอที่ผิวหน้า และต้องการความแข็งแรง แต่มีความแข็งบ้างพอสมควร เช่น ทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ทำรางรถไฟ เพลาเครื่องกล เฟือง หัวค้อน ก้านสูบ สปริง ชิ้นส่วนรถไถนา ไขควง ท่อเหล็ก นอต สกรูที่ต้องแข็งแรง
            1.3  เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) เป็นเหล็กมีความแข็งแรง และทนความเค้นแรงดึงสูง มีเปอร์เซ็นต์คาร์บอน 0.5-1.5% สามารถทำการชุบแข็งได้แต่จะเปราะ เหมาะสำหรับ งานที่ต้องการความต้านทานต่อการสึกหล่อ เช่น ดอกสว่าน สกัด กรรไกร มีดคลึง ใบเลื่อยตัดเหล็ก ดอกทำเกลียว (Tap) ใบมีดโกน ตะไบ แผ่นเกจ เหล็กกัด สปริงแหนบ ลูกบอล แบริ่งลูกปืน

        2. เหล็กกล้าประสม (Alloy Steel) เป็นเหล็กกล้า ผสมคาร์บอนไม่เกิน 1.7% และมีธาตุอื่นๆผสม เช่น แมงกานิส นิกเกิล โครเมียม วาเนเดียม โมลิบดินัม โคบอลต์ ทังสเตน การผสมธาตุต่างๆ ช่วยปรับคุณสมบัติให้เหมาะกับความต้องการ เช่น การทนต่อความร้อนเพื่อใช้ทำ เตากระทะ เตาไฟฟ้า และเตาอินดักชั่น เหล็กกล้าประสมสามารถแบ่งตามปริมาณของวัสดุที่ผสมได้ 2 ประเภทคือ
            2.1 เหล็กกล้าประสมสูง (High Alloy Steel) เป็น เหล็กที่ผสมธาตุอื่นๆกว่า 10% เหล็กกล้าในกลุ่มนี้รวมถึง เหล็กเครื่องมือประสม (Alloy Tool Steel) มีคุณสมบัติในด้าน ทนต่อการกัดกร่อน ทนต่อการสึกหรอได้ดี จึงถูกใช้งานในการทำเหล็กงานเครื่องมือต่างๆ
            2.2 เหล็กกล้าประสมต่ำ (Low Alloy Steel) เป็นเหล็กที่ผสมธาตุอื่นๆไม่เกิน 10% มีโครงสร้างคล้ายเหล็กคาร์บอนธรรมดา Plain Carbon Steel) และมีคุณสมบัติเหมือนเหล็กกล้าประสมสูง

        3. เหล็กกล้าประสมพิเศษ (Special Alloy Steel) เหล็กกล้าประสมพิเศษ เป็นเหล็กกล้าประสมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับงานเฉพาะเช่น
            3.1 เหล็กกล้าประสมทนแรงดึงสูง (High Tensile Strength Alloy Steel) เป็นเหล็กกล้าที่มีคุณสมบัติต่างจากเหล็กกล้าประสมทั่วไป คือ มีคุณสมบัติทนแรงดึงได้สูงมาก และมีความเหนียวสูง นอกจากนี้วิธีการชุบแข็งยังแตกต่างไปจากเหล็กกล้าประสมทั่วไป มีเปอร์เซ็นต์ คาร์บอนอยู่ประมาณ 0.2% เหมาะกับงาน เพลาส่งกำลัง หรือ เฟืองเป็นต้น
            3.2 เหล็กกล้าทนการเสียดสี และรับแรงกระแทก (Wear Resistant Steel) คือ เหล็กกล้าประสมแมงกานีส หรือ "เหล็กกล้าฮาดฟิลต์" โดยมีธาตุผสมเช่น ซิลิคอน 0.4-1% แมงกานีส 11-14% แต่เหล็กที่ผลิตออกมาในตอนแรกยังไม่สามารถนำไปใช้งานได้ เพราะมีความเปราะมาก ต้องนำไปชุบที่อุณหภูมิ 1000-1100°C และจุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว จะทำให้เหล็กชนิดนี้มีคุณสมบัติเหนียว เหล็กชนิดนี้ไม่เหมาะสำหรับลักษณะ การใช้งานที่มีเพียงการเสียดสีแต่เพียงอย่างเดียว เพราะจะไม่คุ้มทุนการผลิต จะต้องได้รับแรงกระแทกพร้อมกันไปด้วย นอกจากนี้ไม่สามารถตัดเจาะ หรือกลึงได้ง่าย ต้องใช้มีดกลึงที่มีความแข็งสูง และใช้ความเร็วในการตัดต่ำมาก เช่น ตะแรงเหล็ก อุปกรณ์ขุดแร่ รางรถไฟ ฯลฯ
            3.3 เหล็กกล้าความเร็วสูง (High Speed Steel หรือ HSS) เป็นเหล็กที่พัฒนาขึ้นสำหรับงานเครื่องมือตัด กลึง กัด เจาะ ไส ซึ่งเดิมนั้นใช้เหล็ก คาร์บอนสูง เหล็กชนิดนี้มีทังสเตนเป็นธาตุหลักประสม ก่อนนำไปใช้งานจะต้องชุบแข็งก่อนที่อุณหภูมิ ประมาณ 950-1300°C ขึ้นอยู่กับส่วนผสม การใช้งาน ดอกสว่าน ดอกทำเกลียว มีด กลึง มีดใส แม่พิมพ์ เครื่องมือวัดต่างๆ ฯลฯ
            3.4 เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) มีธาตุโครเมียมผสมอยู่เพื่อให้มีคุณสมบัติต้านทานสนิม และต้องผสมโครเมียมให้สูงพอสมควร การใช้งานที่ยึดส่วนต่างๆ เช่น ที่ยึดเตาท่อ มีด ช้อนส้อม หรืออุปกรณ์ในงานเคมี หรืออ่างล้างในครัว (Sink)

        4. เหล็กกล้าหล่อ (Cast Steel) คือ เหล็กกล้าที่นำมาขึ้นรูปโดยวิธีการหล่อ มีลักษณะรูปร่างซับซ้อนเกินกว่าที่จะทำการตีขึ้นรูป การอัด หรือการรีด ซึ่งวิธีการหล่อนี้จะได้งานที่ขนาดใกล้เคียงกับขนาดที่ต้องการ เหล็กกล้าหล่อนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเหล็กกล้าที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยการตี หรือการวัด จะมีส่วนที่แตกต่างกันคือ ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ผ่านการหล่อจะปรากฏมีรูพรุนเล็ก ๆ เหล็กกล้าหล่อแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มๆ คือ
            4.1 เหล็กกล้าคาร์บอนหล่อ (Carbon Casting Steel) เป็นเหล็กกล้าที่มีคาร์บอนเป็นหลักเพียงอย่างเดียวโดยมีเปอร์เซ็นต์คาร์บอน ไม่เกิน 0.6% ธาตุโลหะอื่นที่ผสมอยู่เช่น แมงกานีส 0.5-1% ซิลิคอน 0.2-0.75% กำมะถัน <0.5% ฟอสฟอรัส < 0.5% ซึ่งเป็นสารมลทิน ยกเว้นเฉพาะ แมงกานีส ซิลิคอน อะลูมิเนียม เพราะมีหน้าที่เป็นตัวกำจัดแก๊ส (Deoxidizer) ส่วนใหญ่การใช้งานจะใช้ทำ กังหันเทอร์ไบต์  แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
            - เหล็กกล้าหล่อคาร์บอนต่ำ (มีคาร์บอนไม่เกิน 0.2%)
            - เหล็กกล้าหล่อคาร์บอนปานกลาง (มีคาร์บอน 0.2-0.5%)
            - เหล็กกล้าหล่อคาร์บอนสูง (มีคาร์บอน 0.5-0.6%)

            4.2 เหล็กกล้าประสมหล่อ (Alloy Casting Steel) เป็น เหล็กกล้าคาร์บอนที่มีเปอร์เซ็นต์คาร์บอนไม่เกิน 1.7% และธาตุอื่นผสม เช่น แมงกานีส ซิลิคอน โครเมียม นิกเกิล วาเนเดียม โมลิบดินัม โมลิบดินัม ทังสเตน ทองแดง หรือโคบอลต์ การที่มีธาตุต่างๆ ประสมลงในเหล็กกล้าคาร์บอนเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ เช่น การชุบแข็ง การต้านทานการกัดกร่อนทั้งที่อุณหภูมิปกติและสูง การนำไฟฟ้า และคุณสมบัติเกี่ยวกับแม่เหล็ก กรรมวิธีการผลิตจะผลิตใน เตากระทะ เตาไฟฟ้า และ เตาอินดักชั่น  ส่วนใหญ่จะนำไปใช้งานทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ในงานอุตสาหกรรมเคมี เหล็กกล้าประสมหล่อ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
                - เหล็กกล้าประสมต่ำ (ธาตุผสมเช่น แมงกานีส โครเมียม นิกเกิล ทังสเตน ไม่เกิน10%)
                - เหล็กกล้าประสมสูง (มีธาตุผสมที่สำคัญเกินกว่า 10%)
        5. เหล็กอ่อน (Wrought Iron) เป็นเหล็กที่ผลิตจากเตาพุดเดิ้ล (Pudding Process) มีเปอร์เซ็นต์คาร์บอนไม่เกิน 0.1% นอกจากนี้ยังมีธาตุอื่นผสม เช่น ซิลิคอน กำมะถัน ฟอสฟอรัส แมงกานีส ฯลฯ ผลผลิตจากเตาพุดเดิ้ลจะได้เหล็กที่มีความบริสุทธิ์สูงถึง 99.9% เมื่อเผาให้ร้อนเหล็กอ่อนนี้จะไม่หลอมละลาย แต่จะอ่อนเปียกตีขึ้นรูปได้ง่ายมาก สามารถตีชิ้นเหล็กให้ประสานกันได้ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ท่อ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องพบกับการเสื่อมสภาพโดยสนิม ข้อต่อรถไฟ โซ่ ขอเกี่ยว หรือ อุปกรณ์ที่ขึ้นรูปอย่างง่าย
        เหล็กกล้านับว่าเป็นวัสดุที่มีความสำคัญต่อโลกมากมี่สุด เนื่องจากเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างทุกประเภท รวมถึงเป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ และยานพาหนะ อีกด้วย เรียกได้ว่าสามารถนำไปใช้งานได้ทุกด้านเลยทีเดียวทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดี ว่าเหล็ก และเหล็กกล้าเกิดสนิมได้ง่ายหากวางทิ้งไว้ใน บรรยากาศ สนิมเป็นออกไซด์ของเหล็กที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจน กับเนื้อเหล็ก ดังนั้นวิธีหนึ่งที่ใช้ป้องกันเหล็กไม่ให้เกิดสนิม คือ การเคลือบสารปิดทับผิวเหล็กไว้ สารเคลือบที่ใช้มีด้วยกันหลายชนิด สังกะสีก็เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาเคลือบ เหล็กที่ได้จากการชุบเคลือบสังกะสีเรียกว่า เหล็กกล้าชุบเคลือบสังกะสี (galvanized steel) เหล็กเคลือบอลูซิงค์ เหล็กจะถูกเคลือบด้วยอลูมิเนียมและสังกะสี ซึ่งจะทำให้เหล็กทนทานต่อการกัดกร่อนและการเกิดสนิมได้ดีกว่า แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี หรือซิงค์ อย่างเดียว

http://mkmetalsheet.com/wp-content/uploads/2013/02/metal.jpg

เหล็กรูปพรรณ
เหล็กรูปพรรณ  ก็คือเหล็กที่เค้าเอามาทำขึ้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ดังนี้
ที่มาข้อมูล :  http://engineerknowledge.blogspot.com/2011/09/blog-post.html
เหล็กเอชบีม (H-Beam) เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปร้อน เกรด SS400 ความยาวมาตรฐาน 6 M. เหมาะสำหรับงานโครงสร้างเสา คาน และโครงตึกขนาดใหญ่
เหล็กไอบีม (I-Beam) เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปร้อน เกรด SS400 ความยาวมาตรฐาน 6 M.เหมาะสำหรับงานทำเสา คาน และรางเครน ที่ต้องการรับน้ำหนักมาก
เหล็กตัวซี (Light Lip Channel) เป็นเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น ความยาวมาตรฐาน 6 M. มีหน้าตัดเป็นรูปตัวซี เหมาะสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป งานบันได การทำโครงหลังคา แปต่างๆ

http://srimetal.com/userfiles/product-image5/6778e31f-8017-496f-b65b-deb7371198a0/resize_style2_C%20Channel.jpg

เหล็กฉาก (Equal Angle) เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปร้อน ความยาวมาตรฐาน 6 M. เหมาะสำหรับงาน โครงสร้างบ้าน, หลังคาโรงงาน งานโครงสร้างขนาดเล็กโดยทั่วไป เสาส่งไฟฟ้าและ วิทยุ

http://www.websales.torhome.com/images/stories/virtuemart/product/equalangle38.jpg

http://www.thaikoon.co.th/tks2012/images/sd06.jpg

เหล็ก (Cut-Beam) เป็นการนำเหล็ก H-Beam มาตัดกลางที่เอว (Web) ซึ่งจะทำให้ได้เหล็ก Cut-Beam 2 ตัวที่เท่ากัน ซึ่งนิยมนำไปใช้ในงานโครงหลังคาประเภทโครงถัก (Truss) เพื่อเป็นการลดงานของ ผู้ออกแบบ และผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่จากเดิมจะใช้เป็นเหล็กฉาก 2 ตัวมาเชื่อม หรือ ขันน็อตร่วมกับ Gusset plate เพื่อยึดติดกัน
เหล็กพืด (Sheet Pile) เป็นแผ่นเหล็กลอนรูปต่างๆ มีความยาวตามกำหนดใช้ตอกในแนวดิ่ง สำหรับป้องกันแรงดันน้ำ และแรงดันดิน ที่กระทำตามความลึกของการขุด เพื่อป้องกันการเคลื่อนตัวของดิน
เหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide Flange) เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปร้อน เกรด SS400 ความยาวมาตรฐาน 6 M.เหมาะสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป และงานเชื่อม มีรูปทรงลักษณะเดียวกับ ไอบีม แต่มีขนาดบางกว่า
เหล็กแผ่นลาย (Checkerd Plate) มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผิวเป็นลวดลายนูน เพื่อป้องกันการลื่นและน้ำขังเหมาะสำหรับการใช้ปูพื้นทางเดินและบันได พื้นรถบรรทุก ฯลฯ มีหลายขนาดและความหนา
เหล็กแผ่นดำ (Plate) มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผิวเรียบ นิยมใช้สำหรับงานโครงสร้างทั่วไป การปูพื้น การเชื่อมต่อโครงสร้างยานยนต์ งานต่อเรือ สะพานเหล็ก ฯลฯ มีหลายขนาดและความหนา

http://www.samchaisteel.com/i/th_nav_products.png

วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องครัวที่เป็นโลหะ
แหล่งที่มาข้อมูล : http://www.aboutkitchenware.net/kitchenware_material_metal.php
        โลหะที่ใช้ในการทำเครื่องครัวนั้นมีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น เหตุผลก็เนื่องมาจาก วัสดุที่ใช้ทำเครื่องครัว มีความจำเป็นที่จะต้องมีค่าการนำความร้อนสูง และมีความไวต่อปฏิกิริยาทางเคมีต่ำ เพื่อที่จะมีความปลอดภัยพียงพอในการทำอาหาร และไม่ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยนไป  โลหะส่วนใหญ่ที่นำความร้อนเพียงพอในการทำอาหาร มักจะมีปฏิกิริยาทางเคมีง่ายเกินไป ทำให้ไม่ปลอดภัยพอที่จะนำมาทำเป็นเครื่องครัว
อะลูมิเนียม (Aluminum)
        อะลูมิเนียม เป็นโลหะน้ำหนักเบา ที่มีค่าการนำความร้อนสูง ไม่เป็นสนิม และทนการกัดกร่อนเกือบทุกชนิด แต่อย่างไรก็ตาม อะลูมิเนียมมีปฏิกิริยากับกรดที่ใช้ในการทำอาหารบางชนิดทำให้รสชาติเปลี่ยน ไป
ทองแดง (Copper)
        สำหรับการปรุงอาหารแบบยุโรปดั้งเดิมนั้น เครื่องครัวที่นิยมมากที่สุดคือเครื่องครัวที่ทำจากทองแดง เครื่องครัวแบบนี้ จะผลิตจากทองแดง และเคลือบผิวภายนอกด้วยชั้นของดีบุก จะทำให้เครื่องครัวแบบนี้เป็นเครื่องครัวที่มีค่าการนำความร้อนสูง และไม่ก่อปฏิกิริยาเคมีกับอาหารที่เป็นกรด ข้อเสียของเครื่องครัวแบบนี้คือ มีน้ำหนักมาก มีราคาแพง และจำเป็นต้องนำไปเคลือบสารดีบุกเป็นระยะๆ
เหล็กหล่อ (Cast Iron)
เครื่องครัวที่ทำจากเหล็กหล่อมีค่าการนำความร้อนต่ำ แต่มีความทนทานต่ออุณหภูมิสูง ทำให้สามารถใช้กับขบวนการทำอาหารที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงมากๆได้ เครื่องครัวชนิดนี้สามารถมีปฏิกิริยากับกรดบางชนิดในอาหารอีกด้วย
สเตนเลสสตีล (Stainless Steel)
        เครื่องครัวที่ทำจากสเตนเลสสตีลเป็นเครื่องครัวที่มีความต้านทานการกัดกร่อน สูง ไม่มีปฏิกริยาต่อกรด และด่าง ไม่กระเทาะหรือแตกหักเสียหายโดยง่าย ข้อเสียคือมีค่าการนำความร้อนต่ำ โดยทั่วไปจะใช้ทำเครื่องครัวโดยผสมกับทองแดง (Copper) หรืออะลูมิเนียม (Aluminum) ซึ่งเป็นโลหะที่มีค่าการนำความร้อนสูง
เหล็กเคลือบ (Enameled Cast Iron)
        เครื่องครัวประเภทเหล็กเคลือบจะเป็นเครื่องครัวที่ทำจากเหล็กหล่อ เคลือบด้วยสารบางชนิด เพื่อให้เป็นเครื่องครัวที่มีความแข็งแรงทนทาน มีการกระจายความร้อนดี และยังได้ผิวที่ลื่น ไม่ติดกับอาหาร ไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับอาหารอีกด้วย
แชดอะลูมิเนียมหรือทองแดง (Clad Aluminum or Copper)
        เทคนิคการแชดดิ้ง (Cladding) คือการสร้างเครื่องครัวด้วยวัสดุเป็นชั้นๆ ชั้นแรกจะเป็นวัสดุที่นำความร้อนสูง เช่น ทองแดง หรืออะลูมิเนียม โดยเคลือบด้วยวัสดุที่ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี เช่น สเตนเลสสตีล (Stainless Steel) อะลูมิเนียมนิยมเคลือบสเตนเลสทั้งด้านนอกและด้านใน ขณะที่ทองแดง นิยมเคลือบเฉพาะด้านในเท่านั้น ในเครื่องครัวราคาสูงนิยมเคลือบอะลูมิเนียมด้วยสเตนเลสสตีลด้านใน และเคลือบทองแดงด้านนอกเพื่อความสวยงาม
เครื่องครัวประเภทที่ไม่ติดกับอาหาร (Non-Stick)
        ในเครื่องครัวรุ่นใหม่จะนิยมเคลือบด้วยสารประกอบเพื่อป้องกันการติดของอาหาร เช่น เทฟรอน(Teflon) การเคลือบเครื่องครัวด้วยสารประกอบชนิดนี้นั้น มีทั้งประโยชน์ และโทษ เครื่องครัวประเภทนี้ จะไม่สามารถใช้ในความร้อนที่สูงมากๆได้ ข้อดีคือ ทำความสะอาดง่าย ไม่ทำให้อาหารไหม้ และไม่จำเป็นต้องใส่น้ำมันก่อนที่จะทำอาหาร
 
มีดทำครัว
http://thinkofliving.com/wp-content/uploads/2013/04/43.jpg
 
โลหะที่ใช้ทำมีด มีหลายชนิดครับ ส่วนใหญ่มีดแพงๆ เป็นไฮคาร์บอน ครับ (High Carbon) ก็เป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของโลหะชนิดอื่นๆ เช่นโครเมี่ยม (Cr - Chromium) โมลิบดีนั่ม (Mo - Molybdenum) เวเนเดี้ยม (Va - Vanadium) เป็นต้น
วัสดุและอุปกรณ์เครื่องมือการเกษตรที่ทำจากโลหะ
http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/131106.jpg
สรุป
        โลหะเป็นวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างทุกรูปแบบ เหล็กที่มาใช้ทำโครงกันสาด อาจเป็น เหล็กท่อ  หรือเหล็กก่อน ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการออกแบบเพื่อเอาไปใช้
        ข้อดี  ราคาถูก เมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆ    หาได้ง่ายตามท้องตลาดและ ใช้ช่างเหล็กที่หาได้ตามทั่วๆไป  โครงสร้างจะเชื่อมที่ดีจะมีความแข็งแรงและทนทาน
        ข้อเสีย  หนักเมื่อเทียบกับไม้จริง  ถ้าป้องกันหรือเชื่อมไม่ดี   จะทำให้มีโอกาสเป็นสนิมผุภายหลังได้  มีข้อจำกัดในการออกแบบให้ เข้ากับบ้านในบางสไตล์   ผิวเหล็กจะหยาบและดูเป็นวัสดุที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับไม้

ที่มาข้อมูล http://www.vcharkarn.com/vblog/116163/22

Advertisement

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Top