พลาสติกคืออะไร
          พลาสติกจัดเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มี ลักษณะเป็นสายโซ่ยาวๆ แต่ไม่สามารถมองเห็นเป็นสายโซ่ได้ด้วยตาเปล่าซึ่งสายโซ่ดังกล่าวประกอบด้วย หน่วยย่อยๆที่เรียกว่ามอนอเมอร์ พอลิเมอร์สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซ ชั่น(polymerization) ของมอนอเมอร์ โดยใช้แหล่งวัตถุดิบจากปิโตรเคมีเป็นหลัก พลาสติกมีหลายชนิดและสามารถใช้แทนวัสดุธรรมชาติได้หลายอย่าง เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ใช้ผลิตท่อพีวีซี, พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (PET) ใช้ผลิตขวดบรรจุน้ำดื่ม และพอลิสไตรีน (PS)ใช้ผลิตภาชนะบรรจุต่างๆ เช่นช้อน พลาสติก เป็นต้น
        ในปัจจุบันได้มีการรณรงค์การนำวัสดุต่างๆ มารีไซเคิลเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมไปถึงการนำพลาสติกต่างๆ ไปรีไซเคิลด้วย สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งอเมริกา (The Society of the Plastics Industry, Inc.)ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกยอดนิยม
กลุ่มต่างๆ ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนหรือที่เรียกว่าการรีไซเคิล (Recycle) ไว้ 7 ประเภทหลักๆ โดยหากพลาสติกใดสามารถนำมารีไซ-เคิลได้ ก็จะมีรหัสอันประกอบด้วยลูกศร 3 ตัว วนเป็นรูป 3 เหลี่ยมรอบๆ ตัวเลขตัวหนึ่งดังแสดงในรูปภาพ อย่างไรก็ตามก่อนจะทราบรายละเอียดของพลาสติกทั้ง 7 ประเภท เรามาทำความรู้จักความหมายคร่าวๆ ก่อนว่าพลาสติกคืออะไร

เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะเป็นอย่างไร
          เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะแสดงคุณสมบัติ 2 แบบหลักคือ
        1) พลาสติกจะแข็งตัวถาวรไม่ว่าจะถูกความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้ไม่สามารถหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกกลุ่มนี้ว่า “เทอร์โมเซตติ้ง (thermosetting)”
        2) พลาสติกจะเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และจะกลับไปแข็งเมื่อพลาสติกเย็นขึ้น ทำให้สามารถนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกแสดงคุณสมบัติแบบนี้ว่า “เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)” ซึ่งพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้คือพลาสติกประเภท “เทอร์โมพลาสติก(Thermoplastic)”
พลาสติกรีไซเคิลทั้ง 7 ประเภท
          พลาสติกหมายเลข 1 มีชื่อว่า พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) หรือที่รู้จักกันดีว่า เพ็ท (PET หรือ PETE)
เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น สามารถนำมา
รีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน เป็นต้น
          พลาสติกหมายเลข 2 มีชื่อว่า พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE)
เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำ
และบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็น ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม เป็นต้น
          พลาสติกหมายเลข 3 มีชื่อว่า พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใสแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำ
สำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม เป็นต้น

            พลาสติกหมายเลข 4 มีชื่อว่า พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) สามารถเรียกแบบย่อว่า แอลดีพีอี (LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนม
ปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม เป็นต้น
          พลาสติกหมายเลข 5 มีชื่อว่า พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า
กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง เป็นต้น
          พลาสติกเลข 6 มีชื่อว่า พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือที่เรียกโดยย่อว่า พีเอส (PS) เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่ายใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหาร เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โม
มิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ได้
          พลาสติกเลข 7 นั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมาหลอมใหม่ได้

            ขยะพลาสติกจึงไม่ควรนำไปทิ้งรวมกับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขยะสด ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้เป็นต้นแต่ควรแยกทิ้งโดยแยกประเภทของขยะพลาสติกและ ล้างทำความสะอาดก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อที่จะได้นำขยะพลาสติกเหล่านี้ไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก

วัสดุประเภทกระจก
        กระจกเป็นวัสดุที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง สำหรับงานทั่วไป เช่น งานก่อสร้าง งานตกแต่ง งานหัตกรรม  งานเพ้นสี  เป็นต้น กระจกที่ผลิตขึ้นมาใช้งานมีหลายสี และหลากหลายชนิดด้วยกันซึ่งสามารถเลือกใช้ตามความต้องการและความเหมาะสม มีขนาดความหนา  ตั้งแต่ 2 – 19 มิลลิเมตร มีความกว้าง และความยาวเป็นฟุต เช่นกว้าง 3 ฟุต ยาว 4 เมตร
        กระจกสามารถที่ใช้โดยทั่วไปสามารถจำแนกได้ดังนี้

1. กระจกธรรมดา (Float Glass)

http://www.homedecorthai.com/uploads/editor/images/Knowledge_article/688/homedecorthai-20110909132744-393478499.jpg

        1.1. กระจกใส (Clear Float Glass) กระจกใสคือกระจกโปร่งแสงที่สามารถมอง ผ่านได้อย่างชัดเจนและให้ภาพสะท้อนที่สมบูรณ์ ไม่บิดเบี้ยว สามารถมองเห็นจากภายนอก เข้ามาภายในได้อย่างชัดเจนมีค่าการตัดแสงประมาณ 8% สำหรับกระจกใสหนา 12 มิลลิเมตร และตัดแสงได้มากขึ้นตามความหนาของกระจกผิวกระจกไม่ร้อนเพราะกระจก ดูดกลืนความร้อนได้น้อยมาก
        1.2. กระจกสี (Tinted Float Glass) ผลิตขึ้นโดยการผสมโลหะออกไซด์เข้าไปใน ส่วนผสม ในขั้นตอนการผลิตกระจก ทำให้กระจกมีสีสัน ผิวกระจกจะร้อน เนื่องจากสีของเนื้อกระจกที่เกิดจากการเติมโลหะออกไซด์ต่างๆ เป็นตัวดูดความร้อน ทำให้ความร้อน จากกระจกแผ่เข้ามาภายในอาคาร กระจกสีตัดแสงไม่ให้เข้ามาภายในอาคารมากและมีการบังแดดได้มากกว่ากระจกใส สามารถ สกัดกั้นความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบกระจกสีได้มากกว่ากระจกใส ปริมาณการดูดกลืนความร้อนขึ้นอยู่กับส่วนผสมของเนื้อกระจก ช่วยลดความจ้าของแสงที่ส่งผ่านกระจกสีทำให้ได้แสงที่นุ่มนวลและเกิดความสบาย ตาในการมอง

http://www.ameritechfilms.com/assets/temp/images/Tinted-Float-Glass.jpg

2. กระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass)

http://board.postjung.com/data/604/604691-img-2.jpg

        กระจกกึ่งนิรภัย ผลิตจากกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย โดยการนำแผ่นกระจกธรรมดา ผ่านกระบวนการอบความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 700 องศาเซลเซียส จากนั้นผ่านกระบวน การทำให้เนื้อกระจกเย็นลงอย่างช้าๆ โดยใช้ลมเป่าไปยังกระจกทั้ง 2 ด้าน ทำให้ได้กระจกซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษแข็งแกร่งกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า จึงสามารถรับแรงอัดของลมได้ดีกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกัน คุณสมบัติกระจกกึ่งนิรภัย คือแข็งแกร่งกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า สามารถรับแรงอัดของลมได้ดีกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกัน จึงสามารถนำไปใช้ในการติดตั้งกระจกกับโครงสร้างอาคารสูง เหมาะสำหรับการป้องกันการแตกของกระจกเนื่องจากความร้อน ลักษณะการแตกเหมือนการแตกของกระจกธรรมดา คือ แตกเป็นแผ่นไม่หลุด

3. กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)
        หรือที่เรียกทั่วไปว่ากระจกอบเป็นกระจกที่นิยมใช้เป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อกระจกเทมเปอร์แตกมันจะแตกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดข้าวโพดและไม่มีคมจึงเกิดอันตรายน้อย ซึ่งต่างจากการแตกของกระจกธรรมดาที่แตกเป็นเสี่ยง จึงแหลมคมทำให้เป็นอันตรายมากกว่า นอกจากนี้กระจกเทมเปอร์ยังแข็งกว่ากระจกธรรมดาหลายเท่าความแข็งที่เพิ่มขึ้น ของกระจกเทมเปอร์   กระจกเทมเปอร์ก็จะดูเหมือน กระจกธรรมดาทั่วไป แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ ความแข็งแกร่ง ที่มีมากกว่า กระจกธรรมดา (Float Glass) ประมาณ 5 เท่าตัว เราจึงเรียกกระจกชนิดนี้ว่า กระจกนิรภัยเทมเปอร์ เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพ ที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทก หรือร้อนจัด หนาวจัด

http://3.bp.blogspot.com/-.jpg

4. กระจกลามิเนต (Laminated Glass)
        Lamsafe กระจกนิรภัยหลายชั้น ซึ่งเกิดจากการนำเอากระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมา ประกบติดกันโดยมีแผ่นฟิล์ม PVB ที่มีคุณสมบัติเหนียวคั่นกลางซึ่งทำหน้าที่ยึดแผ่นกระจกให้ ติดกัน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง และความปลอดภัยสูง คุณสมบัติพิเศษอีก ประการของ Lamsafe คือสามารถช่วยลดแสง UV และเสียงรบกวนได้ดี สร้างความเป็นส่วนตัวแก่ผู้อยู่อาศัยมั่นใจในความปลอดภัยคุณสมบัติพิเศษที่ ได้ผ่านขบวนการผลิตด้วยเทคนิคสูงกระจก Lamsafe ช่วยยึดกระจกให้ติดแน่น เมื่อเกิดการแตกเศษกระจกยังคงยึดติดกับแผ่นฟิล์มไม่ร่วงหล่นลงมาช่วยลด อันตราย จึงเหมาะกับการใช้งานบริเวณที่ลาดเอียงหรือบริเวณที่อยู่เหนือศีรษะ เช่น อาคารสูงและ หลังคา เป็นต้น

http://image.made-in-china.com/2f0j00nMAtOJCGGZqz/Laminated-Glass-KX-02-.jpg

5. กระจกฉนวนความร้อน (Insulating Glass Units)
        กระจกฉนวนความร้อน ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยการนำกระจก 2 แผ่น มา ประกอบกันโดยมีเฟรมอลูมิเนียมคั่นกลาง ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่นำสมัยด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นกระจกที่ช่วยในด้านการประหยัดพลังงานป้องกันการถ่ายเทความร้อนระหว่าง ภายในกับภายนอกอาคาร ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและพลังงาน ไม่ทำให้เกิดฝ้าหรือหยดน้ำ แม้ว่าอุณหภูมิภายในกับภายนอกแตกต่างกันมาก

http://www.bloggang.com/data/nepatak/picture/1158743810.jpg
6. กระจกเงา เป็นกระจกที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำจากการเอากระจกใสหรือกระจกสีมาฉาบผิวด้านหนึ่งด้วยโลหะเงิน แล้วเคลือบด้วยสีหรือเชลแล็กอีกชั้น เพื่อป้องกันการขูดขีดหรือหลุดล่อนของโลหะเงิน

สรุป
                กระจกเป็นวัสดุที่ใช้ตกแต่งทั้งภายในและภายนอกอาคารที่นิยมใช้กันมากใน ปัจจุบัน กระจกมีให้เลือกมากมายหลายชนิดแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน การเลือกใช้กระจกต้องทราบถึงคุณสมบัติ เพื่อที่จะได้เลือกให้เหมาะสมกับประเภทของงาน

ขอบคุณที่มาแหล่งข้อมูล :  http://www.designlikeus.com - http://www.vcharkarn.com/vblog/116163/23

Advertisement

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Top