เครื่องมือในการตัด
        เครื่องมือในการตัดวัสดุที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี่มีอยู่มากมายหลากหลายชนิด ... สิ่งสำคัญ ที่ควรใส่ใจคือ วัสดุเครื่องมือตัดแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร
        การเลื่อย เป็นการตัดชิ้นงานที่สูญเสียเนื้อวัสดุ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องศึกษาและปฏิบัติให้เกิดทักษะในการปฏิบัติงาน ในองค์ความรู้ดังนี้ คือ ความหมายของการเลื่อย ส่วนประกอบของเลื่อยมือและ การเลือกใช้งาน การบำรุงรักษา ตลอดจนเทคนิคในการเลื่อยงานด้วยมือในงานทั้งงานไม้และโลหะ
        งานเลื่อย คือ การทำให้งานหลุดแยกออกจากกันด้วยการกัดหรือตัดของใบเลื่อยซึ่งมีคมตัดที่มี รูปร่างคล้ายสิ่วหรือสกัดที่จัดวางเรียงกันเป็นแถว เมื่อเราเลื่อยตัดจะเกิดเป็นร่องขึ้นในแนวของการตัดนั้น
แนะนำชนิดและลักษณะของเลื่อย
        ในเรื่องของงานช่างและอุปกรณ์สำหรับตัดวัสดุ อาจจะมีเลื่อยอยู่หลาย ๆ ชนิด ทั้งเลื่อยฟันหนู เลื่อยวงเดือน หรือเลื่อยอีกหลายๆชนิด แต่ว่าสำหรับในเรื่องของงานช่างขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะกับวัสดุอุปกรณ์งานช่าง เครื่องมือช่างประเภทเลื่อยที่หลาย ๆ คน ควรที่จะรู้จักก็คือเลื่อยลันดา เพราะเราสามารถหาดูได้จากไซด์งานก่อสร้างต่างๆ หรือจะเป็นในบ้านของเรา และแทบทุกๆบ้านจะต้องมีเลื่อยชนิดนี้ไว้สำหรับทำการช่างในขั้นต้นอย่างแน่ นอน
        1. เลื่อยเหล็ก
https://www.ktw.co.th/ktwimg/IMAGE/PRODUCT/BIG/STANLEY/15-408.jpg
 
     เลื่อยเหล็กเป็นเลื่อยที่เอาไว้ใช้กับงานเหล็กเป็นหลัก หากเราเอาไปใช้เลื่อยไม้ จะเลื่อยได้ช้ามาก เพราะฟันเลื่อยจะไม่ลึก ละเอียด ตัวโครงของเลื่อยเหล็กจะทำมากจากเหล็ก แต่มีน้ำหนักเบา มีแบบความยาวที่มาตรฐาน และแบบสามารถปรับความยาวได้ตามขนาดของใบเลื่อยได้ เลื่อยเหล็กสามารถเปลี่ยนใบเลื่อยได้ เวลาใส่ต้องหันปลายฟันเลื่อยชี้ออกนอกตัวผู้เลื่อยเสมอ


        2. เลื่อยพับขนาดกระเป๋า
     เลื่อยพับขนาดกระเป๋าจัดเป็นเลื่อยอเนกประสงค์ที่มีฟันแข็งเป็นพิเศษ สามารถตัดได้ทั้งไม้ พลาสติก โลหะ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก คุณสมบัติพิเศษที่สำคัญของเลื่อยพับขนาดกระเป๋าคือ สามารถพับเก็บไว้ได้ ทำให้สามารถพกพาได้สะดวก และยังพกพาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินได้อีกด้วย


http://img.tarad.com/shop/b/bargaingears/img-lib/spd_20120704104825_b.jpg
3. เลื่อยหางหนู
http://2.bp.blogspot.com/-.jpg
 
     เลื่อยหางหนูแบ่งได้ตามขนาดของใบเลื่อยอีกหลากหลายขนาด สามารถใช้ได้กับงานตัดโค้งทั้งภายใน และภายนอกชิ้นงาน หรือใช้สำหรับตัดเจาะผนังยิปซั่มก็ยังได้


        4. เลื่อยหางหมู
http://4.bp.blogspot.com/-ICSlhNv1-og/T8g0kcqJspI/.jpg
 
     เลื่อยหางหมูมีใบเลื่อยที่ลักษณะใหญ่ที่โค้น และที่ปลายเรียวแหลม เลื่อยหางหมูมีความกว้างที่หลากหลายขนาด บางรุ่นสามารถถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้งทั้งภายใน และภายนอกชิ้นงาน


        5. เลื่อยฉลุ
http://1.bp.blogspot.com/.jpg
 
     เลื่อยฉลุใช้กับงานไม้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้ง ทำลวดลาย ตัวกรอบเขงอเลื่อยฉลุทำด้วยโลหะ ใบเลื่อยค่อนข้างเล็กมาก มีความอ่อนตัว สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทาง เลื่อยฉลุมี 2 ชนิดคือ ชนิดคอลึก ใช้ตัดเข้าไปในชิ้นงานได้มากกว่า เหมาะสำหรับไม้ที่ไม่หนามากนัก มีฟันที่ละเอียด และชนิดคอตื่น เหมาะสำหรับงานฉลุไม้ที่ชิ้นไม่ใหญ่นัก มีฟันค่อนข้างละเอียด

        6. เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศร เหมาะสำหรับการใช้งานหนัก เช่น การตัดท่อนไม้ขนาดต่าง ๆ หรือใช้ตัดต้นไม้ เลื่อยโครงเหล็กตัวโครงเป็นเหล็กกลวงน้ำหนักเบา ใบเลื่อยถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้ใบเลื่อยสามารถตัดได้ทั้ง 2 ทาง

http://www.srithaihardware.com/customer_images/srithaihardware_com_0063_1_3_img_5254.jpg

        7. เลื่อยตัดมุมหรือเลื่อยองศา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวใบ และแท่นเลื่อย ลักษณะของใบเลื่อยจะเหมือนเลื่อยบังตอ ส่วนแท่นเลื่อยจะประกอบไปด้วย แป้นบอกองศา โครงจับใบเลื่อย ช่องบังคับใบ เลื่อย และแท่นรองรับใช้กับงานเข้ามุมต่อกันให้สนิท เหมาะกับงานตัดคิ้วบัว หรือการทำกรอบรูป

http://www.arkarnsin.com/item/NN0140878.jpg
        8. เลื่อยลันดา พบเห็นกันบ่อยที่สุด เพราะเป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานของงานช่างไม้ เลื่อยลันดามีความยาวที่ 14, 26 เลือกใช้ตามขนาดหน้าตัดของไม้ สามารถแบ่เป็น 3 ชนิด คือ ชนิดฟันตัด มีลักษณะฟันที่ค่อนข้างพี่ ใช้สำหรับตัดขวางเนื้อไม้เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ ไม่เป็นเสี้ยน ชนิดฟันหยาบ จะมีลักษณะฟันที่หยาบ สามารถตัดได้เร็ว ใช้สำหรับตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ ซึ่งฟันที่ห่างทำให้เกิดหน้าตัดที่หยาบ ความยาวทั่วไปคือ 26 ชนิดฟันอเนกประสงค์ จะมีฟันถี่พอสมควร ความยาว 26 ใช้งานได้สะดวกทั้งการตัดขวางและการตัดตามแนวยาว
http://www.kosanaland.com/shop/images/stories/virtuemart/product/stanley_20-006.jpg
 
        9. เลื่อยบังตอหรือเลื่อยรอ  เหมาะสำหรับงานตัดหัวไม้เพื่อทำเดือยต่อต่าง ๆ ด้านสันของใบเลื่อยมีครอบเหล็กแข็ง กันใบเลื่อยบิดตัวขณะเลื่อย ทำให้ได้รอยตัดที่มีแนวเที่ยงตรง ใบเลื่อยยาว 8, 14 นิ้ว
http://www.arkarnsin.com/item/NN01401716.jpg
 
10. เลื่อยตัดไม้อัด ใช้สำหรับตัดไม้อัดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีขนาดฟันที่เล็ก ซึ่งช่วยลดการฉีกขาดของเนื้อไม้ทั้ง 2 ด้าน ที่ปลายจะเป็นสันโค้งพร้อมมีฟันเลื่อยอยู่ด้วย ใช้สำหรับตัดส่วนอื่นที่ไม่ใช้ขอบของไม้อัดโดยไม่ต้องใช้สว่านเจาะรูนำก่อน ใบเลื่อย ยาว 11 นิ้ว
http://2.bp.blogspot.com/.jpg
 
11. เลื่อยอก   เป็นเลื่อยที่ใช้ผ่าไม้ โครงเลื่อยส่วนใหญ่จะเป็นไม้ เช่น เลื่อย(รัดเกล้า) อกเลื่อย มือจับ ส่วนที่เป็นเหล็กคือสลักและใบเลื่อย ใบเลื่อยมีทั้งตัดและโกรก วางทำมุมกับเรือนเลื่อย 30องศาและต้องตรงเสมอ ไม่ปิด

http://board.trekkingthai.com/board/upload/photo/2012-09/a1f161911bbfb33df7fa3e1151739256.jpg
วิธีการเลือกซื้อเลื่อยให้ตรงกับความต้องการ
http://toolsth.blogspot.com/2012/06/blog-post.html
ขั้นตอนที่ 1
ควรดูลักษณะการใช้งานของเราก่อนครับ ว่าเหมาะที่จะใช้เลื่อยกับงานประเภทใด เช่น ถ้าต้องการตัดงานฝีมือ มีลวดลายคดเคี้ยว เราก็ควรที่จะเลือกเลื่อยฉลุหรือเลื่อยหางหนู หรือเราต้องการใช้เลื่อยในการเลื่อยไม้ที่มีขนาดใหญ่ เช่นท่อนไม้ เราก็ควรใช้เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศร
ขั้นตอนที่ 2
ถ้าเรามีความต้องการใช้เลื่อยที่ใช้งานได้กว้างขวาง สำหรับการตัดไม้ทั่ว ๆ ไป ควรที่จะเลือกเลื่อยลันดาหรือเลื่อยลอครับ ซึ่งสามารถตัดไม้ได้ทั้งแบบขวางเสี้ยนไม้ และตามเสี้ยนไม้
ขั้นตอนที่ 3
การเลือกลักษณะฟันเลื่อย ควรเลือกแบบที่เป็นฟันถี่พอสมควร จะได้ผิวการตัดที่ละเอียด ไม่แตกหยาบ

ขั้นตอนที่ 4
ขนาดของคันเลื่อย หรือตัวเลื่อย ควรจะเลือกขนาดที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งเลื่อยมีหลายขนาดโดยหน่วยจะเป็นนิ้ว ควรทดลองจับท่าเลื่อยดูว่าเหมาะสมกันหรือไม่

วิธีการใช้เลื่อย
        เลื่อยมีหลายชนิดดังกล่าวมาแล้ว แต่เลื่อยที่มีความสำคัญและใช้กันทั่วไปในงานไม้ก็คือ เลื่อยลันดา ซึ่งมีทั้งชนิดผ่าไม้ ตัดไม้  และชนิดฟันเลื่อยหยาบ ฟันเลื่อยละเอียด การเลื่อย ผ่าและตัดไม้ทำได้ง่ายกว่าการไสกบ แบ่งได้ดังนี้
การตัดไม้ 
         
        http://www.homedd.com/HomeddWeb/homedd/upload_files/pic_diy/pic_procedure/970465629627_5101-3.gif
        1. ใช้ฉาก มาทำการวัดแนวที่จะตัดหรือเลื่อยไม้ แล้วใช้ดินสอขีดเส้นลงบนเนื้อไม้
        2. จับเลื่อยด้วยมือที่ถนัด โดยจับที่คันเลื่อย หรือใช้มือจับชิดกับเหล็กหูเลื่อย
        3. อย่าเกร็งมือที่ใช้จับเลื่อยและไม่ควรกดน้ำหนักลงบนเลื่อย มือทำหน้าที่บังคับโครงเลื่อยให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้องเท่านั้น
        4. วางไม้ส่วนที่จะตัดให้ยื่นเลยขอบพื้นที่ใช้รองไม้ ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับไม้กดไว้กับพื้นที่ใช้รองอย่าให้เคลื่อนที่ได้
        5. วางคมเลื่อยลงตรงริมตำแหน่งที่จะตัดไม้ด้านตรงข้ามกับด้านผู้ตัดยืน ยื่นหัวแม่มืออีกข้างที่กดไม้ไปวางตรงเส้นดินสอที่ขีดตำแหน่งที่จะเลื่อย เพื่อเป็นแนวหรือตำแหน่งที่จะตัด หรือทำหน้าที่บังคับให้ใบเลื่อยวางเอียงประมาณ 45-50 องศา
        6. ดึงโครงเลื่อยขึ้นข้างบนก่อนเบาๆแล้วจึงดันโครงเลื่อยลงข้างล่าง ดึงคันเลื่อยให้สุดความยาวของใบเลื่อย
        7. มือจับคันเลื่อย อยู่ในลักษณะที่หงายมือขึ้น กำคันเลื่อยโดยให้นิ้วทั้ง 4 นิ้ว อยู่ใต้คันเลื่อยหัวแม่มือวางบังคับอยู่ด้านบน
        8. คันเลื่อยเบนออกไปทางด้านขวามือประมาณ 45 องศา  เพราะใบเลื่อยทำมุม 45 องศากับคันเลื่อย ( มือจับ) เพื่อให้ไม้ที่ผ่าลอดเข้าไปในช่องระหว่างใบเลื่อยกับอกเลื่อยได้
        9. บังคับให้ทุกส่วนของเลื่อยอยู่ในระดับที่คงที่ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เมื่อไม้เกือบจะขาดออกจากกันให้ละมือที่จีบไม้อยู่นั้นเอื้อมไปจับไม้ส่วน ที่จะตัดออก ไม่ปล่อยให้ตกลงบนพื้นโดยลำพัง ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ไม้ส่วนที่เลื่อยใกล้ขาดนั้นฉีก พร้อมทั้งลดน้ำหนักของเลื่อยลงชะลอความถี่ของการเลื่อยลงช้าๆก่อนไม้ขาดจาก กัน
        10. สำหรับการตัดไม้ให้มีขนาดเท่ากันสามารถทำได้โดยวัดขนาดและขีดเส้นแนวการตัด สำหรับการเลื่อย จับชิ้นงานให้ติดกันและวางใบเลื่อยให้อยู่ด้านที่ต้องการตัดทิ้ง
        11. การเลื่อยฝ่าไม้ตามแนวยาววัดขนาดและตีเส้นแนวการเลื่อยแล้วเลื่อยตามแนวไป เรื่อยๆ ให้นำไม้ลิ่มมาแทรกระหว่างร่องเลื่อยเพื่อไม่ให้ไม้หนีบใบเลื่อยขณะเลื่อย
        12. เวลาเลื่อยให้ใช้แคล้มป์จับยึดชิ้นงานเอาไว้ โดยจับชิ้นงานด้านใน เอาด้านที่ต้องการเลื่อยอยู่ด้านนอก

ข้อควรระวัง
การวางเลื่อยให้รอยเลื่อยอยู่ชิดริมเส้นดินสอ เมื่อไม้ขาดแล้วเหลือเส้นดินสอไว้ส่วนหนึ่ง อย่าตัดโดยวางเลื่อยทับเส้นดินสอ เพราะจะทำให้ไม้สั้นกว่าขนาดที่วัดไว้
วิธีการจับเลื่อยที่ถูกวิธี
การผ่าไม้
คือ การเลื่อยตามเสี้ยนหรือตามความยาวของไม้ท่อนนั้น ทำได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ
      1.ถ้าวางไม้นอนขนานบนพื้นโต๊ะ มีวิธีเลื่อยดังต่อไปนี้
         1.1จับเลื่อยในลักษณะเดียวกับการตัดไม้ แต่มือจับคันเลื่อยทั้งสองมือ โดยใช้มือซ้ายกำคันเลื่อยบริเวณหูเลื่อย คว่ำมือลง มือขวาจับในลักษณะเดิมเหมือนตัดไม้แต่ขยับไปทางด้านอกเลื่อย ประมาณกลางมือจับหรือคันเลื่อยระหว่างอกเลื่อยกับหูเลื่อย
         1.2 ผู้เลื่อยนั่งทับไม้ส่วนที่ยังเลื่อยไม่ถึงไว้ เลื่อยให้ผ่าเริ่มจากหัวไม้ที่วางริมโต๊ะ ผู้เลื่อยนั่งในลักษณะปล่อยขาลงข้างโต๊ะ
         1.3 ผู้เลื่อยใช้เท้าข้างขวาเหยียบไม้ เท้าอีกข้างหนึ่งยืนอยู่บนพื้น ในกรณีนี้ไม่ต้องวางอยู่บนม้าสำหรับรองตัดไม้ ซึ่งจะมีความสูงจากพื้นถึงที่วางไม้สำหรับตัดสูงประมาณ 60 เซนติเมตร
         1.4 ผู้เลื่อยขึ้นนั่ง หรือยืนบนไม้ที่วางอยู่บนโต๊ะ
      2.ถ้าเป็นไม้สั้น สามารถวางตั้งแล้วไม้ส่วนที่จะผ่าไม่สูงเกินไป ให้ตั้งไม้หันหัวไม้ด้านที่จะผ่าขึ้นใช้ปากกาหัวโต๊ะจับ โดยมีวิธีดังนี้
         2.1ให้ตั้งไม้ในแนวดิ่ง หันหัวไม้ข้างที่จะผ่าขึ้น ใช้ปากกาจับหัวไม้ข้างโต๊ะ จับไม้ไว้ให้แน่น
         2.2จับเลื่อยสองมือเหมือนผ่าไม้ในลักษณะนอนแต่ความยาวของใบเลื่อยขนานกับ พื้นความกว้างของใบเลื่อยอยู่ในแนวเดียวกับเส้นที่ขีดไว้เพื่อเป็นแนวสำหรับ เลื่อย

การบากไม้
      คือ การตัดไม้แต่ตัดไม่ขาด เป็นการเลื่อยไม้ให้ลึกลงไปในเนื้อไม้ อาจเป็นการบากไม้เพื่อผ่าส่วนหนึ่งทิ้ง หรือเป็นการบากเพื่อเจาะสลักเอาไม้ส่วนที่อยู่ระหว่างเส้นที่บากนั้นออกซึ่ง มีวิธีดังต่อไปนี้
      1. การวางเลื่อยลงบนไม้ วางให้คมเลื่อยอยู่นอกเส้นที่ขีดไว้ โดยให้วางชิดริมเส้นที่ขีดไว้
      2. ลักษณะของเลื่อยวางนอนในตอนแรกด้านมือจับหรือคันเลื่อยสูงกว่าด้านที่วางจรด อยู่บนริมความกว้างของไม้ที่จะบากเล็กน้อย ถ้าเป็นการบากปากไม้เพื่อประกอบกับไม้ชิ้นอื่นให้เอียงคันเลื่อยเข้าหาเส้น เล็กน้อย
      3. เมื่อเลื่อยบากลงไปใกล้จะถึงเส้นที่ขีดไว้เพื่อกำหนดความลึกของไม้ที่จะบาก แล้ว ให้ลดระดับของเลื่อยข้างที่มือจับอยู่ให้อยู่ในแนวราบขนานกับพื้น ให้ใบเลื่อยจรดเส้นของขีดทั้งสองข้าง

ข้อควรคำนึงในการเลื่อย
      1.จับเลื่อยให้มั่น อย่าให้เลื่อยโคลงไปโคลงมาระหว่างดึงเลื่อยเข้าหาตัว และดันเลื่อยออกไปข้างหน้า
      2.อย่ากดเลื่อยระหว่างทำการเลื่อย และปล่อยให้น้ำหนักเลื่อยถ่ายลงบนคลองเลื่อยเท่านั้น
      3.การตัดหรือผ่าไม้เพื่อนำไปไสแต่ง เป็นการตัดหรือผ่าไม้ที่ต้องการเผื่อความยาวและความกว้างของไม้ไว้ให้ตัด ด้วยเลื่อยฟันหยาบทั้ง 2 ชนิด
      4.เมื่อต้องการจะผ่าปากไม้หรือผ่าเดือยไม้เพื่อนำไปประกอบ ให้ใช้เลื่อยละเอียดทั้งสองชนิดเช่นเดียวกัน
      5.เลื่อยทั้งสองชนิด คือ เลื่อยสำหรับผ่าและเลื่อยสำหรับตัดไม้ ดังกล่าวข้างต้น

        เครื่องมือที่ใช้กับเลื่อย
        คีมคัดคลองเลื่อย คือ คีมที่ใช้คัดปลายคมเลื่อยให้เบนสลับกันไปมา ปลายที่เลื่อยจะเฉียงสลับไปทางด้านตรงกันข้าม เลื่อยหลังจากใช้ไปชั่วระยะหนึ่งคลองเลื่อยจะถูกบีบทำให้เกิดความฝืด เวลาใช้ต้องคัดคลองเลื่อยโดยหงายฟันเลื่อยขึ้นใส่ปากกาหัวโต๊ะจับให้แน่นนำ คีมคัดคลองเลื่อยมาปรับความเอนของฟันเลื่อย ตามต้องการแล้วล๊อกให้แน่น เริ่มคัดคลองเลื่อยจากซ้ายไปขวาทีละฟัน การคัดให้ดูฟันเดิมที่เคยคัดไปแล้วจากซ้ายไปขวา ระวังอย่าหลงฟันเลื่อย และควรกดคีมให้สม่ำเสมอ เมื่อเสร็จด้านหนึ่งแล้วก็สลับข้างคัดอีกด้านหนึ่ง
         
                        ภาพการใช้คีมคัดคลองเลื่อย
http://www.thaicarpenter.com/images/catalog_pro_1363169400/IMGA0344.jpg
ตะไบสามเหลี่ยม ลำตัวของตะไบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ใช้ตะไบลับคมใบเลื่อยให้มีความคมอยู่ตลอดเวลาเพื่อใช้งานได้ดี  การแต่งคมฟันเลื่อย หลังจากคัดคลองแล้วก็นำตะไบ 3 เหลี่ยม เลือกขนาดความเอนของฟันเลื่อยให้ตะไบอยู่ในช่องระหว่างฟันเลื่อยพอดี มือซ้ายจับปลายกด มือขวาถือด้ามดันตะไบไปข้างหน้าทีละช่อง ระวังแรงกดให้มือซ้ายกดอย่างสม่ำเสมอ จำนวนครั้งที่ดันต้องเท่ากันทุกช่องฟัน
                       
ภาพการใช้ตะไบแต่งคอมเลื่อย
http://board.trekkingthai.com/board/upload/photo/2010-12/08a082b9697300d94884e74d69d506f5.jpg
 
เลื่อยฉลุไฟฟ้า (Jig Saw or Saber Saw)

https://www.ktw.co.th/ktwimg/IMAGE/PRODUCT/BIG/Makita/BJV180.jpg
        เลื่อยไฟฟ้าชนิดนี้เป็นเลื่อยไฟฟ้าที่เราพบเห็นได้ ง่ายที่สุด และถือได้ว่เป็นเลื่อยที่ถูกนำมาใช้งานตามบ้านมากที่สุดด้วย จนเรียกเลื่อยชนิดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “เลื่อยเอนกประสงค์” อันเนื่องมาจากใช้งานง่ายและมีความคล่องตัวในการใช้งานรวมไปถึงการพกพาที่ สะดวกด้วย ลักษณะของเลื่อยชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายเตารีด โดยที่ด้ามถือจะมีลักษณะเป็นห่วง ทำให้ในขณะใช้งานเราจึงสามารถถือเลื่อยชนิดนี้ ด้วยมือเพียงข้างเดียวได้ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งก็คอยประคองให้ตัวเลื่อยเคลื่อนที่ไปตามแนวที่เราต้อง การตัด ภายในของเลื่อยชนิดนี้จะประกอบไปด้วยชุดมอเตอร์และชุดฟันเฟืองที่ทำหน้าที่ ในการขยับใบเลื่อยให้ขึ้นและลงเป็นแนวตรงคล้ายกับจักรเย็บผ้า ที่บริเวณฐานของเลื่อยบางรุ่นยังสามารถปรับให้เลื่อยเอียงได้ถึง 45 องศา เพื่อทำการตัดไม้ในมุมเอียงได้ด้วย
        ในการเลือกใช้ใบเลื่อยนั้น จะต้องเลือกให้ถูกต้องกับชนิดของงาน เพื่อให้งานที่ออกมานั้นมีความสวยงามและถูกต้อง โดยใบเลื่อยที่ใช้ในการตัดไม้จะมีจำนวนฟันประมาณ 3-14 ฟัน ต่อนิ้ว ถ้าจำนวนฟันมีความถี่มากจะทำให้เวลา ในการเลื่อยช้า แต่ชิ้นงานที่ได้จะมีความเรียบ ฟันเลื่อยแบบนี้จะเหมาะกับไม้เนื้อแข็ง ในขณะที่ฟันหยาบ จะใช้เวลาในการเลื่อยนั้นเร็ว แต่ชิ้นงานที่ได้จะมีผิวที่ไม่ค่อยเรียบ ฟันเลื่อยแบบนี้จะเหมาะกับไม้เนื้อแข็ง ส่วนใบเลื่อยตัดเหล็กจะมีจำนวนฟันประมาณ 14-32 ฟันต่อนิ้ว โดยในการตัดโลหะนั้นจะต้องให้ฟันเลื่อยอย่างน้อย 2 ซี่ สัมผัสกับความหนาของขอบชิ้นงานทุกครั้ง มิฉะนั้นอาจจะทำให้รอยตัดที่ออกมานั้นหยาบและใบอาจจะหักในขณะที่ทำการเลื่อย ได้ นอกจากใบเลื่อยทั้งสองที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีใบเลื่อยอีกหลายแบบ เช่น ใบเลื่อยชุบคาร์ไบด์ เหมาะสำหรับงานตัดชิ้นงานที่เป็นคอนกรีต กระเบื้องเซรามิก เหล็ก ไฟเบอร์กลาส และวัสดุอื่นๆ เป็นต้น
เทคนิคการใช้เครื่องเลื่อยฉลุ
เครื่องเลื่อยฉลุหรือที่เรียกว่าเครื่องเลื่อยจิ๊กซอ นั้นมีความสามารถที่ตัดชิ้นงานได้หลายลักษณะ ซึ่งจะต้องมีเทคนิคในการใช้งานที่แตกต่างกัน
ขั้นตอนการใช้เลื่อยฉลุไฟฟ้า (Jig Saw or Saber Saw)
ขั้นตอนที่ 1
ก่อนการใช้งานควรทราบถึงส่วนประกอบและหน้าที่ของเครื่องก่อนมีดังนี้คือ ฐานรองใบเลื่อยเป็นตัวบังคับตัวเลื่อยในแนวเดียวกับชิ้นงาน สามารถปรับเอียงได้และมีตัวล็อคใบ ตัวเครื่องมีมอเตอร์ภายใน มือจับ มีสวิทช์ปิด-เปิดสะดวกในการใช้งาน ใบเลื่อยมีทั้งแบบละเอียดและหยาบ
ขั้นตอนที่ 2
ก่อนการใช้งานต้องตรวจสอบใบให้ล็อคแน่นเรียบร้อย เครื่องเลื่อยฉลุเหมาะสำหรับการตัดตามแนวเส้นโค้ง เช่น ลวดลายต่างๆ วงกลม และสามารถที่จะตัดแนวเส้นตรงได้ด้วยการใช้แนวบังคับการตัด เช่น ท่อนไม้ทำเป็นแนวบังคับ การตัดทั่วไปควรวางแนบฐานรองใบเลื่อยให้สนิทกับชิ้นงานในขณะตัด เพื่อป้องกันใบเลื่อยดีดหักเข้าตาได้
ขั้นตอนที่ 3
เมื่อตัดรอบช่องจนขาดหมดแล้ว ตัดเข้ามุมโดยดัดด้านใดด้านหนึ่งให้ชนมุมก่อนแล้วยกใบเลื่อยออกและตัดเข้า มุมนั้นจากอีกด้านหนึ่งให้ชนมุมพอดี เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญ ในตอนเริ่มต้นควรใช้สว่านเจาะรู ขนาดประมาณ 5 มม. ให้ใบเลื่อยลงได้แล้วค่อยตัด
ขั้นตอนที่ 4
เทคนิคการตัดขนาดตามแนวขนาน จะใช้ตัวปรับระยะหรือรั้วตั้งความลึกตามนขาดที่ต้องการทาบรั้วที่ด้านข้างชิ้นงานแล้วดันตัดไป
ขั้นตอนที่ 5
เทคนิคการตัดโลหะบางๆจะต้องใช้ใบเลื่อยที่มีฟันละเอียด หรือฟันเลื่อยแบบที่มีฟันอย่างน้อย 3 ซี่ จะสัมผัสกับชิ้นงานเพื่อให้การตัดไม่ทำให้ชิ้นงานเสียหาย ความเร็วในการดันเลื่อยตัดจะต้องช้ากว่าการตัดไม้
คำแนะนำ
        เนื่องจากเลื่อยจิ๊กซอว์มีความปลอดภัยสูง และใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง จิ๊กซอว์จึงเป็นเครื่องมืออย่างแรกที่ควรซื้อติดบ้านไว้

เลื่อยวงเดือน (Circular Saw)

http://thaimctools.com/wp-content/uploads/.jpg
        เลื่อยชนิดนี้เป็นเลื่อยที่ใช้กับชิ้นงานที่มีขนาด ค่อนข้างจะใหญ่ และมีกำลังในการตัดชิ้นงานสูง โดยส่วนใหญ่แล้วเลื่อยวงเดือนจะมีกำลังงานตั้งแต่ 500-1,500 วัตต์ เพื่อให้เหมาะกับงานที่จะใช้ ขนาดของตัวเลื่อยจะกำหนดจากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของใบเลื่อย ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 3 3/8-16 5 /16 นิ้ว รุ่นที่นิยมใช้มากที่สุดจะเป็นรุ่นขนาด 7 ¼ นิ้ว ซึ่งมีความคล่องตัวในการใช้งานมากที่สุด ลักษณะภายนอกของตัวเลื่อยจะประกอบไปด้วย
ใบเลื่อย (Blade) จะ มีอยู่หลายแบบหลายชนิดด้วยกัน ขึ้นอยู่กับงานที่จะนำไปใช้งาน เช่น ใบเลื่อยผสม จะใช้สำหรับตัดไม้ทางขวางหรือตามเสี้ยนไม้ ใบเลื่อยชนิดนี้จะมีฟันเลื่อยขนาดใหญ่ทำให้ตัดไม่ได้อย่างรวดเร็ว แต่ขอบจะมีลักษณะหยาบ,ใบ เลื่อยตัด จะใช้สำหรับตัดขวางแนวเสี้ยนไม้ ลักษณะของฟันเลื่อยจะเป็นซี่ละเอียดสลับกับฟันลบมุมคม ทำให้ตัดได้นุ่มนวล เหมาะที่จะนำไปตัดไม้อัดและไม้บาง, ใบเลื่อยไส จะใช้สำหรับตัดขวางและตัดมุมเอียง,ใบ เลื่อยซอย ออกแบบมาสำหรับตัดตามเสี้ยนไม้ได้อย่างรวดเร็ว มีร่องฟันเลื่อยที่ลึก จึงทำให้คายเศษชิ้นไม้หรือขี้เลื่อยได้ดี เป็นต้น ในการติดตั้งใบเลื่อยจะต้องให้คมของใบเลื่อยหงายขึ้นทุกครั้ง
ฝาครอบกันใบเลื่อย (Blade Guard) จะติดตั้งอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนบนและส่วนล่าง มีไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะกำลังเลื่อยชิ้นงานอยู่ โดยจะป้องกันอันตรายจากใบเลื่อยเองและเศษขี้เลื่อยที่อาจจะกระเด็นไปถูกผู้ ปฏิบัติงาน
คันยกครอบกันใบเลื่อยด้านล่าง ใช้ในการโยกให้ฝาครอบกันใบเลื่อยด้านล่าง เลื่อนออกมาจากใบเลื่อยเพื่อให้สะดวกในการถอดเปลี่ยนใบเลื่อย
ฐานเครื่อง จะมีลักษณะเป็นโลหะชิ้นเดียวกันทั้งแผ่น ใช้ในการรองเลื่อยวงเดือนให้วางอยู่บนชิ้นงานที่เราทำการตัดได้อย่างมั่นคง ตัวล็อกฐาน (Tilt Adjustment) ใช้ในการปรับฐานเครื่องกับตัวเลื่อยให้ทำมุมกับชิ้นงาน โดยสามารถปรับได้สูงสุด 45 องศา กับตัวชิ้นงาน
ด้ามจับและไกสวิตซ์ (Handle and Power Switch) ลักษณะ ของด้ามจับจะมีรูปร่างที่สามารถให้มือสอดเข้าไปจับตัวด้ามจับได้ถนัด และบริเวณด้านในของด้ามจับจะมีไกสวิตซ์ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเปิดและปิดการทำ งานของเลื่อย โดยถ้าต้องการให้เลื่อยทำงานก็ให้กดสวิตซ์ลง แต่ถ้าต้องการหยุดการทำงานก็ให้ปล่อยไกสวิตซ์ ในเลื่อยบางรุ่นจะมีปุ่มกดเพิ่มขึ้นมาทางด้านข้างของไกสวิตซ์เมื่อทำการกด ปุ่มนี้แล้วไกสวิตซ์ก็จะถูกกดค้างไว้โดยที่เราไม่ต้องทำการกดไกสวิตซ์เลย

ขั้นตอนการใช้งานเลื่อยวงเดือน (Circular Saw)
ขั้นตอนที่ 1
วิธีตัดเจาะภายใน - ปรับใบให้ออกมามากที่สุดวางตัวเลื่อยให้ใบอยู่ด้านในเส้นที่ขีดไว้วางตัว เลื่อยโดยให้ส่วนหน้าเครื่องแนบกับชิ้นงานก่อนแล้วค่อย ๆ กดตัวเครื่องลง ดันตัดตามแนวโดยไม่ต้องถึงมุมส่วนมุมใช้เลื่อยมือแต่งมุม ให้ระวังมือด้านที่อยู่ใกล้ใบเลื่อยมากที่สุด       
ขั้นตอนที่ 2
วิธีตัดไม้มุมเอียง - วัดขนาดตามมุมที่ต้องการอาจเป็นฉากที่ปรับมุมได้หรือ วัดขนาดโดยไม่มีองศาจับยึดแนวรั้วด้วยแคล้มป์แล้วตัดตามแนวที่ต้องการ      
ขั้นตอนที่ 3
วิธีตัดโดยใช้รั้วเป็นตัวนำ วัดขนาดและขีดเส้นเป็นแนวที่ต้องการตัดไว้ วัดระยะจากขอบใบเลื่อยถึงขอบแท่นตัวเลื่อย จากนั้นวัดขนาดจากเส้นที่ขีดไว้บวกด้วยระยะของใบเลื่อยถึงขอบแท่น วางรั้วเหล็กหรือรั้วไม้ตรงตามแนวจับยึดด้วยแคล้มป์แล้วตัดตามแนว
ขั้นตอนที่ 4
วิธีตัดไม้ให้มีขนาดยาวเท่ากัน- ตอกยึดไม้ที่ตรงเพื่อเป็นตัวชนของไม้ที่จะตัดนำไม้ที่ต้องการตัดมาวางเรียง กันโดยให้ด้านหนึ่งชนแนวไม้ที่ตอกยึดไว้ขีดเส้นระยะที่ต้องการตัดลบด้วยระยะ จากใบเลื่อยถึงแท่นเพื่อเป็นแนววางรั้ววางรั้วและยึดแน่นด้วยแคล้มป์

แท่นเลื่อยวงเดือน (Table Saw)

http://boschpromo.com.ua/resource/products/GTS_10.jpg

        เป็นเลื่อยที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตาม โรงเลื่อยต่าง ๆ เพราะเนื่องมาจากสามารถตัดแผ่นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้อย่างสบาย และนอกจากนั้นยังสามารถที่จะตัดไม้ให้มีลักษณะต่าง ๆกัน ได้อย่างมากมาย เช่น การเซาะร่อง,การตัดทำเดือย,การบากชิ้นงาน,การตัดเฉียง เป็นต้น ลักษณะของเลื่อยชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแท่นตัดผิวเรียบ
        ด้านล่างติดตั้งมอเตอร์พร้อมใบเลื่อยวงเดือน บริเวณปลายของใบเลื่อยจะโผล่ขึ้นมาจากแท่นตัดโดยที่จะมีฝาครอบกันใบเลื่อย คอยป้องกันไม่ให้เศษขี้เลื่อยกระเด็นเข้าตาเราได้ ที่ปลายของใบเลื่อยที่โผล่พ้นมากหรือน้อยก็ได้ขึ้นอยู่กับความหนาของไม้ นอกจากนั้นใบเลื่อยยังสามารถปรับมุมเอียงได้สูงสุด 45 องศา ลักษณะของใบเลื่อยจะใช้เช่นเดียวกับเลื่อยวงเดือน ที่บริเวณแท่นตัดจะมีคานบังคับไม้สำหรับยึดไม้ เพื่อป้อนไม้ให้เป็นแนวเส้นตรง
ขั้นตอนการใช้งานแท่นเลื่อยวงเดือน (Table Saw)

ขั้นตอนที่ 1
ก่อนการปรับเปลี่ยนปรับตั้ง ขนาดหรือใบจะต้องมั่นใจว่าเครื่องปิดอยู่เสมอ และต้องตรวจสอบดูว่าแคล้มป์ที่ยึดรั้วแน่นหรือไม่และมีวัสดุอะไรขวางทางใบ เลื่อยหรือไม่       
ขั้นตอนที่ 2
การยืนควรยืนอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของแนวใบเลื่อย เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายหากใบเลื่อยหลุดใช้ที่ครอบใบเลื่อยทุกครั้งที่มี การตัด ใช้ที่ครอบใบเลื่อยทุกครั้งที่มีการตัด  
ขั้นตอนที่ 3
ห้ามตัดชิ้นงานแบบอิสระโดยไม่มีอะไรยึดเป็นแนวรั้วซึ่งการตัดลักษณะนี้ใบ เลื่อยที่หมุนตัดอยู่จะขัดกับชิ้นงานและดีดชิ้นงานออกมาโดนผู้ทำงานเป็น อันตรายได้   
ขั้นตอนที่ 4
เลือกใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยให้เหมาะสมกับงาน ในกรณีที่ไม่ชำนาญ หรือไม่มั่นใจ      
ขั้นตอนที่ 5
เมื่อปิดเครื่องแล้วใบเลื่อยยังไม่หยุดห้ามหยุดใบเลื่อยด้วยการนำไม้ไปใส่ หรือมือไปสัมผัสใบเลื่อยห้ามทำความสะอาดแท่นเลื่อยด้วยมือเปล่า ควรใช้แปรงปัดหรือลมเป่า      
ข้อควรระวัง : เนื่อง มาจากเลื่อยวงเดือนมีความสามารถในการตัดชิ้นงานที่สูง จึงควรใช้ความระมัดระวังและรอบคอบในการใช้งานทุกครั้ง เช่น เมื่อต้องการจะเปลี่ยนใบเลื่อยจะต้องทำการปิดสวิตซ์และถอดปลั๊กไฟก่อนทุก ครั้ง,สวมแง่นนิรภัยป้องกันดวงตาและหน้ากากกันฝุ่น พร้อมกับใส่ที่อุดหู ในขณะปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันเศษขี้เลื่อยและเสียงของตัวเลื่อย, เป็นต้น

เลื่อยตัดปรับมุม (Miter Saw)

http://thumbnail.igetcdn.com/resize/.jpg
        เลื่อยชนิดนี้เป็นเลื่อยที่สามารถทำการปรับมุมได้ตั้งแต่ 45-90 องศา ได้คงที่ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องทำการปรับตั้งมุมบ่อย ๆ จึงทำให้นิยมนำไปใช้ในการตัดไม้เพื่อทำวงกรอบ,คิ้ว บัวหรือกรอบรูป เป็นต้น
การใช้งาน
1.   ศึกษาคู่มือการใช้งาน และปลั๊กไฟต้องไม่เสียบอยู่ ให้ลองขยับและดูการปรับตั้งต่างๆ ของเลื่อยดู
2.   ทำตามคำแนะนำในคู่มือ หาเศษไม้มาเพื่อทดลองตัด โดยที่ยังไม่เสียบปลั๊กไฟ คุณต้องเข้าใจก่อนว่าใบเลื่อยจะตัดตรงไหน และตัวครอบจะเคลื่อนที่อย่างไร
3.   ก่อนที่จะเสียบปลั๊ก ต้องดูก่อนว่าฐานถูกยึดหรือขันนอตติดไว้กับโต๊ะแล้ว และต้องดูว่าที่พื้นไม่มีของวางไว้เกะกะ

ขอบคุณแหล่งที่ วิชาการคอม

Advertisement

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Top